เรื่องของสมาธิ

 

พระเทพสิงหบุราจารย์

P16004

การนั่งสมาธิบำเพ็ญจิตภาวนาช่วยท่านได้เยอะเลย  แต่มันทำยาก  ถ้าท่านทำจริงๆ แล้วคิดอะไรมันก็ได้   เรียกว่าแก้วสารพัดนึกของชีวิต  ชีวิตที่มีแก่นสาร สมาธินี้ ถ้าพูดโดยเหตุผล  มีอยู่ด้วยกัน ๔ ประการ

.   ทำสมาธิเพื่อให้เกิดความสงบสุขในปัจจุบัน  ไม่ใช่ต้องการสุขในชาติหน้า 

.  ทำสมาธิเพื่ออบรมจิตให้เกิดแสงสว่าง ต้องการให้เกิดปัญญา

.   ทำสมาธิเพื่อควบคุมให้สติกับสัมปชัญญะอยู่กับจิต ให้ได้

.   ทำสมาธิเพื่อทำลายอาสวะกิเลส ให้เบาบางลงไป 

การช่วยตัวเองนั้น ถ้าไม่เจริญสมาธิสติปัฏฐานสี่  ก็ไม่สามารถช่วยตัวเองได้  เงินก็ช่วยไม่ได้  เงินช่วยได้แต่ความสะดวกเท่านั้น 

การตั้งศาลพระภูมิ   พระภูมิ ต้องหมายความว่า   พระภูมิสี่  คือ พระภูมิรู้  พระภูมิธรรม  พระภูมิฐาน  พระภูมิปัญญา  ตั้งศาลพระภูมิอย่างนี้ ได้บ้านนั้นไม่ทะเลาะกันหรอก  ถ้าท่านตั้งให้ได้  ๔ ศาลนี้  จะไม่ทะเลากันแน่  มันไม่มีความรู้จึงได้ทะเลาะกัน 

ความสุขนี้ได้จากความทุกข์แท้ๆ  ทุกข์ทรมานหลายอย่าง  ถ้าเราค่อยๆ กำจัดทุกข์ออกจากตัวเรา  ความสุขถึงจะมาแทนที่ได้  เพราะความในตัวเรานั้นหลากหลายมาก  อะไรๆ ในโลกนี้หาความสุขที่แท้จริงได้เลย   ความสุขที่แท้จริงหาได้จาก  บางคนเลี่ยมทองพระเครื่อง ใส่คอเต็มไปหมด หวังให้พระเครื่องคุ้มครองรักษา ไปเพิ่มทุกข์ไปนอนที่ไหนก็ต้องกำพระทองไว้  กลัวจะหาย  แล้วไปเลี่ยมทองทำไม  เอาพระมาไว้ในใจไม่ได้หรือ  ทำอย่างนั้นไม่ใช่พระมาปกปักรักษาเรานะ  เรากลับต้องไปปกปักรักษาพระแทน  เพราะกลัวหาย   การนั่งกัมมัฏฐานเป็นการนำพระมาไว้ในใจเป็นพระใจประเสริฐมีแต่ความสุขไม่มีความทุกข์  ความสุขที่แท้จริงต้องไม่มีความทุกข์เจือปน  เหมือนอย่างที่ท่านสร้างความทุกข์อยู่เดี๋ยวนี้  คือ ที่เราสร้างทุกวันนี้ เป็นความทุกข์ทั้งนั้น  ที่เราปฏิบัติธรรมกันทุกวันนี้เพื่อต้องการจะขัดเกลา  ความเศร้าหมองและความไม่ผองใสออกไปจากจิตใจ  ให้ใสสะอาดความสุขที่แท้ต้องไม่เจือปน ด้วยความทุกข์นานาประการ การปฏิบัติธรรมเป็นการกลั่นกรอง และพัฒนา มาบำบัดน้ำเสียในหัวใจ ให้ออกไปให้หมด ให้เหลือแต่น้ำใจที่ใสสะอาด ปราศจากมลทิน นี่แหละถึงจะมีความสุข  แต่ก็ยังเขาใจผิดกันหลายคนที่คิดว่ามานุ่งขาวห่มขาวแล้วสบาย  ที่ไหนได้นั่งไปแค่เพียงชั่วโมงเดียวหน้าเบี้ยวหน้าบูด  ใครยังไม่เคยทำก็แย่  คนที่เคยทำมาแล้วก็ยังเป็นเวทนา  บางคนบอกว่าทำมาแล้วไม่เป็น  นั้นไม่จริง  เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องตั้งอยู่แล้วก็ดับไป  เวทนาต้องเป็นทุกครั้ง  แต่มันจะเปลี่ยนที่ เช่น เราเดินจงกรม แล้วมานั่ง  แล้วก็เดิน   มันก็จะเปลี่ยนไปปวดตั้งนั้นตรงนี้  มันไม่ปวดซ้ำ และจิตก็คิดอย่างนั้น  คิดอย่างนี้  ไม่เหมือนกัน  เพราะในตัวเรามีวัฏฏะสงสาร เวียนว่ายตายเกิดในตัวเรา และในจิต  มาหลายชาติ หลายกัป หลายกัลป์แล้ว  เมื่อสมาธิดีแล้วสติดี  สัมปชัญญะปองดองกัน   เมื่อกายสามัคคี  จิตสามัคคีแล้ว  จะเกิดผลเกิดอานิสงส์ในการปฏิบัติธรรม  ถึงจะรู้ว่าของจริงอยู่ตรงนี้  ตรงนี้ของปลอม  

มันมีแต่ความทุกข์ทั้งนั้น  ญาติโยมทั้งหลาย  มีบ้านหลังใหญ่โตมโหฬาร แต่ก็หาความสุขใจไม่ได้หรอก  โบราณท่านว่าไว้  คับที่อยู่ได้คับใจอยู่ยาก  เปรียบเหมือน เจ้าเงาะกับรจนา อยู่กระท่อมปลาย ยังมีความสุข เพราะเขามีปัญญา เขาจึงแก้ปัญหาได้  ที่ว่าเงาะเป็นสังข์ทอง  คำว่าสังข์ นั้น หมายถึงมงคล   ทองนั้น คือตัวปัญญา  เขาอยู่ดีมีสุข เขาไม่มีอะไรต้องทุกข์เลย  เขาเปรียบเทียบไว้ชัดเจน  อาตมานี้ถึงทำได้อย่างไรก็ต้องปวด  อาตมาเคยเข้าพลสมาบัติ มาหลายปีแล้ว ครั้งละ ๑-๒ ชั่วโมง  แต่มาตอนนี้มันแทบจะทำไม่ได้  ได้แค่  –๑๐ นาที  เพราะไม่ได้ทำนาน  ต้องฝึกกันตลอด  ต้องทำให้เสมอต้นเสมอปลาย แล้วเราจะรู้ว่ามีทั้งสุขมีทั้งทุกข์ อยู่ในตัวเราครบ  มันสับเปลี่ยนไปเรื่อย  เวียนว่ายตายเกิด  ทุกข์แล้วก็สุข  สุขแล้วก็ทุกข์  ดีใจแล้วก็เสียใจ  เราร้องไห้ในชั่วโมงนี้ แต่ก็ไปหัวเราะในชั่วโมงหน้า  มันเกิดขึ้น ไม่มีอะไรแน่นอน  ความสุขที่ได้จากความทุกข์  ต้องลำบากลำบน    ความดีของเรากว่าจะได้มา    บางแห่งบางที่ชอบฟัง ไม่ชอบทำเพราะทำแล้วมันเมื่อย   ของจริงไม่ค่อยชอบกัน ไปชอบของที่ไม่จริง 

การเจริญกัมมัฏฐานเป็นการแก้ปัญหาชีวิตหลายอย่าง  ทำให้เรามีวินัยในตัว เพราะสติสัมปชัญญะ   กัมมัฏฐานเน้นอยู่    ข้อ 

ข้อ ๑.   ยืนหนอห้าครั้ง ต้องพยายามทำช้าๆ เป็นบทบาทที่ต้องแก้ปัญหาและรู้กฎแห่งกรรม

ข้อ ๒.  เน้นการเดินจงกรมให้ได้จังหวะ 

ข้อ ๓.  เน้น พองหนอ  ยุบหนอ   หายใจให้ยาวๆ  มันมีประโยชน์  ถ้าไม่เคยมันจะอึดอัดมาก  แล้วมันจะเบื่อหน่าย มันไม่พองไม่ยุบ ถ้าหายใจยาวๆ  จะทำให้ใจเย็นลงทันที

ข้อ ๔.  อายตนะ ธาตุอินทรีย์  ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ต้องกำหนด ให้พร้อม  จิตมันเกิดตรงไหนให้กำหนด  ตรงตา  ตรงหู  ตรงจมูก  ตรงลิ้น  ตรงกายสัมผัส  จิตเกิดจะได้รู้  คิดหนอ  โกรธหนอ  เสียใจหนอ  ไม่สบายใจหนอ ให้กำหนดที่ลิ้นปี่   

เวทนา  มันปวด พอเราจะ พองหนอ  ยุบหนอ กำลังคล่องดี  เกิดอาการปวดอีกแล้ว  ปวดแล้วทำให้จิตฟุ้งส่าน  จิตแตกกระจายไปคิดอะไรต่ออะไร  เราก็ต้องกำหนด ปวดหนอๆ  เมื่อยหนอๆ  จนน้ำตาร่วง  และเมื่อเราศึกษาจิตเข้าใจแล้ว  เป็นอนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา  เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  ดับไป   จิตก็ไม่ไปพะว้า  พะวง  จิตมันก็กลับมาที่เดิม  ส่วนอาการปวดมันจะหายหรือไม่หาย  จิตก็ไม่ไปสนใจ  มันก็ไม่รู้สึกปวด  ถ้าเราไม่เข้าใจตรงนี้มันจะสับสนไปหมด  พอเราทำที่ยากๆ  ได้แล้ว เรื่องอื่นก็เล็กไป  พอยืนหนอห้าครั้งแล้ว ก็มีสติดี  ก็จะคุ้นเคยกับความดี พอไปเห็นคนอื่นเข้า ก็พิจารณา ศรีษะลงปลายเท้า  ปลายเท้าขึ้นศรีษะแล้ว ก็จะรู้ว่าเขามีนิสัยเป็นอย่างไร  กว่าจะรู้ตรงนี้ได้  ต้องหมดจากเวทนา และคลายอารมณ์ร้ายเป็นอารมณ์ดี  พออารมณ์ดีแล้วจะมีปัญญา ถึงจะรู้จริง  เวทนามีอยู่ ๓ อย่าง  คือ  สุข  ทุกข์  ไม่สุขไม่ทุกข์ ซึ่งก็คืออุเบกขาเวทนา  คือจิตมันออกไปเลยไม่สุขไม่ทุกข์  วางเฉย  จิตเลยเที่ยวไป   ต้องกำหนดรู้หนอๆ    จิตถึงจะกลับมาถึงจะรู้ว่าจิตนี้มันมีอย่างไร  จิตมันไวเหมือนลิง  ถ้าเราจะให้มันอยู่กับที่ได้ต้องทำให้คุ้นเคยกับจิตนานๆ  ใช้เวลานานมาก เหมือนไปจับไก่ป่ามา  พอเราจับมันขัง มันจะเดินเลาะสุ่ม  จนกว่าจะเชื่อง  ฉันใดก็ฉันนั้น เราต้องทำนาน ทำไปเรื่อยๆ  และจะต้องทำความคุ้นเคยกับกิเลสต่างๆ  ที่มันมาหาเรา  ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  เราทำให้จิตอยู่กับที่เมื่อไร  เราจะรู้ได้ว่าเป็นอย่างไร  ถ้าจิตไม่อยู่นิ่งเราจะไม่รู้เรื่องอะไรเลย 

แค่ พองหนอ  ยุบหนอ  จิตก็คิดไปหลายเรื่อง แล้วเราก็ยังไม่รู้เลยว่าจิตมันออกตรงไหน  จิตออกไปเมื่อไรก็ไม่รู้  เราต้องกำหนดว่า รู้หนอๆ   ให้คุ้นเคย พอรู้แล้ว จิตมันจะออกเราก็จะรู้เลยจิตกำลังจะออก  ทางหลังบ้าน หรือหน้าบ้าน  ถ้าเราเพลินไปจิตจะหนีออกไปเลยโดยไม่รู้เลย ปากก็พองหนอ ยุบหนอต่อไป  แต่จิตอีกดวงก็ไปคิดเรื่องอื่นๆ   ถ้าเราคุ้นเคยแล้วเราจะรู้ได้เลยว่าจิตมีหลายดวง  ถ้าจิตเป็นกุศลจะคิดแต่เรื่องดีที่เราทำไว้ในชาติก่อน ถ้าจิตเราเสียเราจะคิดแต่เรื่องบ้าบอที่ไปทะเลาะกับเขา  และพองหนอ  ยุบหนอ  ถ้าได้จังหวะเมื่อไร ได้กำหนดเมื่อไร  นั่นแหละเราจะรู้จริง   ที่สำคัญต้องหายใจให้ยาว  พอง แล้ว หนอ ยาวๆ   พอเราหายใจยาวจนคุ้นเคยกับลมหายใจแล้ว  จะสังเกตตัวเองได้ อารมณ์จะเย็นลง 

หายใจยาวๆ แล้วตั้งสติ  ทำให้คุ้นเคย กับเหตุการณ์ของการนั่งกัมมัฏฐาน  ถ้าเราคิดหนอขึ้นมาได้  ถ้าเราสำรวมจิตได้เปอร์เซ็นต์จะสูง  ๘๐–๙๐ คิดออกมาแล้วจดไว้เลย  จะคิดไม่เหมือนใคร  คิดแบบแยกแยะออกมาเลย  อะไรดี อะไรชั่ว  เป็นฝ่ายดี  ฝ่ายชั่ว  อะไรเป็นกุศล  อะไรไม่เป็นกุศล  เรียกว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน  มันจะคิดออกมาได้แบบนี้  แต่กว่าจะทำได้ต้องใช้เวลา  ดังนั้นจึงควรปฏิบัติให้เสมอต้น เสมอปลาย  มากบ้าง น้อยบ้าง  แต่ต้องทำเป็นประจำ 

ฉะนั้นการปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นการแก้ปัญหาชีวิตโดยเฉพาะ  และรับรองได้ว่าท่านทั้งหลายจะไม่ไป นรก  เป็นเปรต อสุรกาย แน่นอน   กัมมัฏฐานเป็นบุญให้เกิดความสุข  ช่วยให้เราไปเกิดอย่างต่ำก็โลกมนุษย์    ถ้าหากเราไม่เจริญกัมมัฏฐานขาดสติไป  เกิดโลภขึ้น หรือโกรธขึ้นมาแล้วตาย  ก็จะไม่ไปเมืองมนุษย์  ต้องลงนรก เกิดมีโมหะจริตขาดสติปัญญา ต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานแน่นอน  กัมมัฏฐานช่วยให้เราเกิดมีร่างกายสมบูรณ์  อาการครบ ๓๒    ถ้าเราเจริญกัมมัฏฐานเป็นการต่ออายุได้  ให้เป็นคนแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ   มีโรคภัยไข้เจ็บจะหายอย่างน่าอัศจรรย์ 

ถ้าเราทำกัมมัฏฐานมา ๗ ชาติ  จะทำให้เกิดความฉลาดตั้งแต่เป็นเด็ก   คนมีสตินั้นเองที่ทำให้ฉลาด  และบุญกุศลจากกัมมัฏฐานทำให้เราอยู่ที่ไหนดีที่นั้น  ช่วยให้เราได้ลาภต่างๆ อย่างน่าอัศจรรย์  และทำให้เรามีความเจริญรุ่งเรืองมีผู้คนเคารพนับหน้าถือตามากมาย   และบูชาสิ่งทั้ง ๗  นักกัมมัฏฐานจะบูชาสิ่งทั้ง ๗  ไม่เคยขาด  สิ่งทั้ง    มีดังนี้

.   กตัญญูเลี้ยงดูบิดามารดา

.  เคารพบูชาผู้ใหญ่ในตระกูลของตน

.  มีวาจาอ่อนหวาน น่าฟัง

.  ไม่ยุยงส่งเสริม  ไม่ส่อเสียดใคร 

.  กำจัดความตระหนี่ได้  ช่วยเหลือใครโดยมีศรัทธาในตัว

.  มีความซื่อสัตย์

. ข่มความโกรธได้ 

อย่างนี้เรียกว่า คุณสมบัติของพระอินทร์  อยู่ในกัมมัฏฐาน