ศาสโนวาท กัณฑ์ที่ ๒
เรื่อง การรักษาใจ กับ การข่มใจ
P17004
วันนี้จะบรรยายธรรม อนุสาวรีย์ของสมเด็จพระบรมศาสดา แสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่งเป็นหลักแห่งพระศาสนาที่นับถือของตน คนเราจะต้องมีพระศาสนาเป็นเครื่องจูงใจ จึงจะทำความรู้และความประพฤติของตนให้ประกอบด้วยประโยชน์ การนับถือพระศาสนาต้องเคารพนับถือพระพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าของ ประพฤติตามธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ นับถือพระ สงฆ์เป็นผู้ปกครองรักษา
เช่นเดียวกับอาณาจักร อย่างพวกทหารเคารพนับถือสมเด็จพระมหากษัตริย์
และประพฤติตามวินัยที่ทรงบัญญัติ สำหรับหมู่คณะของตนไม่ฝ่า ฝืนนับถือนายที่เป็นผู้ใหญ่เหนือตน
อันได้รับการศึกษาคุ้นเคยในกิจการซึ่งสมเด็จพระมหากษัตริย์ทรงวางพระทัย แต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับบัญชา ฉะนั้นพระศาสนา ปฏิบัติให้ถูกทางแล้ว ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่บุคคลทุกจำพวก แม้พวกข้าราชการทหารก็ต้องยึดธรรมเป็นหลัก จึงจะนับว่าเป็นทหารที่ดี ธรรมที่ทหารควรยึดถือเป็นหลักนั้น
จะยกขึ้นกล่าวในที่นี้ ๒ ประการคือ
๑ ความรักษาใจ
๒. ความข่มใจ
ธรรม ๒ ประการนี้เป็นของสำคัญ เพราะใจเป็นเครื่องกระทบอยู่รอบข้าง ถ้าไม่มีธรรมกำกับอยู่ด้วย มักจะเพลิดเพลินไปในอารมณ์ที่ล่อให้มัวเมา และสะดุ้งหวาดหวั่น ด้วยอำนาจอารมณ์ที่ขู่ให้ตกใจ เมื่อใจแชเชือนไปเช่นนั้น การพูดการทำก็ย่อมเชือนไปตามกันเมื่อความประพฤติเสีย แม้จะมีวิทยาความรู้สักเพียงไรก็ไม่เป็นประโยชน์ กลับจะใช้ความรู้ในทางที่ผิด เป็นดังนี้ก็ด้วยอำนาจความคิดอันวิปริต สมดังสุภาษิตโบราณท่านกล่าวไว้ว่า ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ข้อนี้ ต้องจำใส่ใจไว้
ความคิดย่อมแก่กล้าขึ้นตามตัว เมื่อยังเป็นเด็กๆ ความคิดก็ยังอ่อนเวลานั้นอยู่ในปกครองของบิดามารดา และครูบาอาจารย์ คอยฝึกหัดแนะนำ หล่อหลอม กดขี่ในความประพฤติและการเล่าเรียนโดยปลอบ และปราบ เมื่อวัยเจริญขึ้น ความคิดก็แก่กล้าขึ้นทุกที จะต้องรู้จักปกครองใจของตน กล่าวคือ ยึดธรรมเป็นหลัก อารมณ์ที่ล่อใจให้เชือนแชมีอยู่หลายอย่าง
การเป็นนักเลงเจ้าชู้นี้ก็เป็นเครื่องชักจูงใจให้เสียหาย
เวลายังเล่าเรียนศึกษาอยู่ก็ดี เรียนสำเร็จออกไปเป็นนายทหารแล้วก็ดี ถ้ามัวเพลิดเพลินในทางนั้น ใจก็จะเหินห่างในการศึกษา และกิจการที่เป็นหน้าที่ขาองตนเป็นดังนี้ ความรู้ก็จะไม่เจริญที่เรียนมาแล้วก็จะเสื่อมทรามไป ปล่อยปละละกิจการที่เป็นหน้าที่ของตนมีแต่ความเสื่อมหาความเจริญมิได้
ความเป็นนักเลงสุรา เป็นบ่อแห่งความเสียหายอย่างสำคัญ เพราะสุราย่อมกลับใจให้เป็นอย่างอื่นไม่รู้จักความเสียหายอันจะมาถึงแก่ตน ใช้อำนาจในทางที่ไม่ชอบธรรม
อาจให้ประพฤติความชั่วได้ต่างๆ นา
ความเป็นนักเลงเล่นการพนัน นี้ก็เป็นความเสียหายเหมือนกัน
เมื่อเล่นเสียก็คิดแก้ตัว เมื่อเล่นได้ก็ยั่วใจอยากได้มากขึ้นไป ครั้นเล่นไปจะทำให้ตนเสียหายในทางนั้น การคบเพื่อนที่เป็นนักเลงเช่นนั้น ก็เป็นทางแห่งความเสียหายเหมือนกัน เพราะเป็นเหตุที่จะชักตนให้เป็นคนเช่นนั้น
ตามที่ได้กล่าวมานั้น พอให้เป็นตัวอย่างในอารมณ์ที่เป็นเครื่องล่อใจให้เพลิดเพลินทำให้เสียหาย เมื่อความคิดจะเชือนแชไปทางนั้น ควรรักษาใจให้คงที่ ด้วยนึกถึงคุณความดีที่ตนจะถึงได้พึงถึง ข่มใจด้วยนึกถึงผลร้ายที่จะเกิดขึ้นเพราะเหตุนั้น เมื่อถูกอารมณ์ขู่ทำใจให้หวาดหวั่น ท้อถอยต่อภยันอันตรา ควรยึดหน่วงวัตถุเป็นสรณะของตนทำใจให้กล้าหาญ ปราบปรามความหวั่นหวาดนั้นเสีย ตัวอย่างดังพวกทหารมีธงชัยประจำกองเป็นเครื่องหมายต่างองค์พระมหากษัตริย์
ของตน หน่วงเหนี่ยวธงชัยประจำกองเป็น
เครื่องหมายต่างองค์พระมหากษัตริย์ของตน
หน่วงเหนี่ยวธงชัยเป็นที่พำนักอุดหนุน ใจให้กล้าหาญไม่ย่อท้อต่อสรรพศัตรู เรื่องนี้มีตัวอย่างทางตำนานท่านเล่าไว้ว่า เมื่อเกิดสงครามเทวดากับอสูรท้าวสักกะเทวราชมีเทวโองการตรัสสั่ง แก่เทวดาทั้งหลายว่าเมื่อเข้าสงคราม
ถ้าเกิดความกลัวความสะดุ้งหรือความหวาดเสียว
พึงแลดูยอดธงของเรา ความกลัวความสะดุ้งความหวาดเสียวจะหายไปนี่
แสดงว่ายอดธงเป็นเครื่องชักจูงให้ได้รับความอุ่นใจ ป้องกันความหวาดหวั่นได้เพราะอาศัยความเคารพนักถือ แม้ถึงพระบรมศาสดาของเราทั้งหลาย ก็ตรัสสั่งพวกสาวกผู้บำเพ็ญสมณะธรรม
เพื่อปราบปรามข้าศึกภายใน ให้นึกถึงพระองค์เป็นหลัก
อาจป้องกันความหวาดหวั่นต่อข้าศึกได้ ที่กล่าวมานี้เป็นกิริยารักษาน้ำใจ โดยยึดถือวัตถุที่ตนเคารพนับถือเป็นหลัก
เมื่อใจกำเริบด้วยอำนาจความโกรธความแค้น
อันเป็นหนทางจะทำตนและหมู่คณะของตนให้เสียหาย
ต้องนึกถึงธรรมแล้วข่มใจให้สงบระงับคุณข้อนี้เป็นเหตุแห่งความเจริญ ท่านที่มีปรีชา ประพฤติได้รับผลดี เป็นตัวอย่างมาดังตำนานเล่าไว้ว่า
พระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พรหมทัตต์
ดำรงราชสมบัติในพระนครพาราณสี บริบูรณ์ ด้วยพระราชทรัพย์
อาวุธยุทธภัณฑ์
บำรุงแกล้วทหารเป็นราชพาหนะครบทุกสิ่งทั้งรัฐมณฑลอาณาเขตก็ไพศาล ยังพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า
ฑีฆิติ ดำรงราชสมบัติในโกศลรัฐ พระองค์มีพระราชทรัพย์อาวุธยุทธภัณฑ์
และแกล้วทหารราชอาณาจักรน้อยเบาบาง พระเจ้าพรหมทัตต์ ยกทัพมาติดพระนครโกศลรัฐ พระเจ้าฑีฆีติ ทรงเห็นว่ากำลังน้อยไม่อาจต่อสู้ข้าศึกได้จึงพามเหษีเสด็จหนีออกจากพระนคร
พระเจ้าพรหมทัตต์ได้ชัยชนะโดยสวัสดี
พระเจ้า ฑีฆีติกับพระมเหสีทรงแปลงเพศ แอบแฝงอยู่ใกล้พระนครพาราณสี พระมเหสี ประสูติพระกุมาร ขนานนามว่า ฑีฆาวุ เมื่อ ฑีฆาวุกุมารทรงพระเจริญวัย
พระบิดาเกรงว่าจะเกิดภัย จึงทรงส่งให้ไปศึกษาศิลปศาสตร์ อยู่ภายนอกพระนคร ภายหลังพระเจ้าพรหมทัตต์ทรงทราบเหตุที่พระเจ้าฑีฆีติ แปลงเพศ แอบแฝงอยู่ที่นั้น จึงตรัสสั่งให้จับปลงพระชนม์ชีพเสีย
ส่วน ฑีฆาวุกุมาร ได้ศึกษาศิลปศาสตร์ ชำนิชำนาญ คิดอ่านที่จะแก้แค้นพระเจ้า
พรหมทัตต์ หาช่องโอกาสฝากเนี้อฝากตัวมา โดยลำดับจนได้เป็นราชเสวกใกล้ชิดสนิทสนม กับพระเจ้าพรหมทัตต์
วันหนึ่งพระเจ้าพรหมทัตต์มีพระราชประสงค์ จะเสด็จประพาสป่า รับสั่งให้ฑีฆาวุกุมาร จัดรถพระที่นั่งเสร็จแล้ว ท้าวเธอเสด็จขึ้นทรงรถ ฑีฆาวุกุมารเป็นราชสารถี ขับภาชีตัดลัดทางด้วยอุบายของตน จนข้าราชการตามเสด็จไม่ทัน พลัดกันไปคนละทาง
เหลืออยู่แต่รถ ทรงรับสั่งให้หยุดรถ เพื่อพักระงับพระกาย ฑีฆาวุกุมารหยุดรถแล้วลงนั่งขัดสมาธิ ณ แผ่นดินนั้น พระจ้าพรหมทัตต์ ทรงพาดพระเศียรบนตักฑีฆาวุกุมาร เอนพระองค์ลงบรรทมหลับสนิท
พระอ่อนพระทัยมา ครั้งนี้ฑีฆาวุกุมาร คิดว่าพระเจ้าพรหมทัตต์นี้ ชิงราชสมบัติแว่นแคว้นแดนดินของเรา และยัง
ฆ่าพระชนกพระชนนีของเราเสียด้วย คราวนี้เป็นเวลาของเราที่จะแก้แค้น จึงถอดพระแสงออกจากฝักหวังจะปลงพระชนม์พระเจ้าพรหมทัตต์ แล้วมานึกถึงโอวาทที่พระชนกสอนไว้ว่า
อย่าเห็นยาวดีกว่าสั้น อย่าเห็นสั้นดีกว่ายาว
ธรรมดาเวรย่อมไม่ระงับด้วยเวร เวรย่อมระงับด้วยไม่มีเวรแก่กัน
คิดดังนี้แล้ว ข่มใจที่โกรธนั้นเสีย โดยเห็นว่าไม่ควรจะล่วงคำสอนของพระชนก
กลับสอดพระแสงเข้าฝัก แต่นึกแค้นและข่มใจได้อย่างนั้นถึง
๓ ครั้ง จนพระเจ้าพรหมทัตต์ตกพระทัยผวาตื่นขึ้น เธอจับพระเศียรของพระเจ้ าพรห มทัตต์ด้วยมือซ้ายถอดพระแสงด้วยมือขวา
กล่าวคุกคามว่า
เรานี่แหละชื่อว่า ฑีฆาวุ
เป็นพระราชโอรสของพระเจ้า ฑีฆีติ
ท่านทำความฉิบหายแก่เรามากนัก
ชิงเอาพลพาหนะแว่นแคว้น
แดนดินหมดแล้ว ยังมิหนำซ้ำ ฆ่าพระชนกชนนีของเราเสียอีก คราวนี้เป็นเวลาของเราจะแก้แค้น
พระเจ้าพรหมทัตต์ตกพระทัยรับสั่งขอชีวิต
เธอก็กราบทูลถวายและขอพระราชทานชีวิตของตน กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ต่างองค์ ต่างถวายชีวิตกันและกัน ทรง จับพระหัตถ์ทำสัจจะสาบานเพื่อ ไม่ประทุษร้ายต่อกัน ตั้งแต่นั้นสองกษัตริย์ก็ได้มีสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันดียวกัน ครั้นต่อมาพระเจ้าพรหมทัตต์
ก็ได้พระราชทานพลโยธาพาหนะ แว่นแคว้นแดนดิบอันเป็นของพระเจ้า ฑีฆีติ คืนให้แก่ ฑีฆาวุกุมาร และพระราชทานพระราชธิดาด้วยฑีฆาวุกุมาร ก็ได้ดำรงราชสมบัติ ครองโกศลรัฐราชธานี สืบสันติวงศ์ เรียบร้อยตลอดมา นี่ก็เป็นด้วยปรีชา และความรอบคอบ ของ ฑีฆาวุกุมาร
พระโอวาทของพระเจ้า ฑีฆีติ นั้น ข้อที่ว่า อย่าเห็นยาวดีกว่าสั้น อธิ บายว่าอย่าผูกเวรกันให้นาน คือ เมื่อมีหนทางจะสมานกันให้เรียบร้อยได้ ก็ควรข่มใจ ประนีประนอมให้สงบระงับ อย่าถือทิฏฐิมานะ
ข้อที่ว่า อย่าเห็นสั้นดีกว่ายาว อธิบายว่า มิตรที่คบกันแล้วอย่าทำใจเร็ว ด่วนได้
แตกร้าวจืดจางกันเร็ว เมื่อเกิดการกระทบกระทั่งกันขึ้น
ควรข่มใจ อย่าเห็นแก่ได้เปรียบ เสียเปรียบ
ข้อที่ว่า เวรไม่ระงับด้วยเวร
เวรย่อมระงับด้วย ไม่มีเวร อธิบายว่า เมื่อฝ่ายหนึ่งได้ผิดแก่ฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายนั้นคิดแก้แค้นจนทำได้สำเร็จ ฝ่ายโน้นก็คิดแก้แค้นต่อไป เป็นดังนี้
เวรไม่มีเวลาสงบลงได้เลย ตัวอย่างก็ดัง ฑีฆาวุกุมาร
ถ้าเธอจะคิตผูกใจเจ็บในพระเจ้าพรหมทัตต์จะปลงชีวิตเธอเสียก็ได้แต่พระองค์เดียว ฝักฝ่ายของพระเจ้าพรหมทัตต์ก็จะคิดแก้แค้น จับฑีฆาวุกุมารปลงพระชนม์ชีวิตเสียอีก ความบาดหมางในระหว่างสองแคว้นนั้นจะไม่มีเวลาสงบระงับ ก็เมี่อฑีฆาวุกุมารข่มใจถวาย ชีวิตแก่พระเจ้าพรหมทัตต์ในเวลาที่ตนอาจทำได้พระเจ้าพรหมทัตต์ก็พระราชทานชีวิตแก่ฑีฆาวุกุมาร
ไม่ทรงถือด้วยอำนาจทิฏฐิ สองแว่นแคว้นก็ได้มีความสนิทสนมกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นับว่าเวรย่อมระงับด้วยการไม่ผูกเวรกัน
ตามที่กล่าวมานี้ พวกทหารก็ควรใส่ใจ
พระเจ้าฑีฆีติ เสียพระนคร และชีวิตแก่ข้าศึก
ก็เพราะเลินเล่อไม่บำรุงแกล้วทหาร
เครื่องอาวุธ ยุทธภัณฑ์ เป็นเครื่องป้อง กัน พระนคร เป็นโอกาสที่ให้ข้าศึกได้ท่วงทีตีเอาพระนครได้โดยง่ายดาย ส่วนฑีฆาวุกุมาร
ผู้เป็นโอรสมีปรีชาสามารถในเหตุผล
สมควรเป็นเชื้อชาติกษัตริย์ ใจทหารบากบั่นทำการสำเร็จได้โดยละม่อม เวลาที่อาจปลงชีวิตพระเจ้าพรหมทัตต์ได้ก็ยัง
ข่มใจไว้ได้
เพราะยึดธรรมเป็นหลัก
นับว่าประพฤติต้องตามลักษณะของทหารที่ดี เวลาที่เขาหมดอำนาจไม่ต่อสู้ก็ไม่ทำ การข่มใจเช่นนี้ เป็นวิธีที่ทหารต้องยึดไว้เป็นหลัก
เพราะฉะนั้น ขอพวกทหารจงใส่ใจในธรรม คือถือธรรมเป็นหลัก จงมีสติรักษาใจ จูงใจให้ตั้งอยู่ในความดี จงข่มใจปราบปรามใจ อย่าให้ฉุนเฉียวฟุ้งซ่าน เพราะเครื่องกระทบประพฤติได้ดังนี้
นับว่าเป็นผู้ประพฤติธรรมยึดถือธรรมเป็นหลักได้รับประโยชน์แห่งการนับถือพระพุทธศาสนา มีความดังพรรณนามานี้