ลักษณะคนคิดดี

พระราชสุทธิญาณมงคล

K00036

คนที่จะคิดได้ดีนั้น  มีลักษณะ ๓ ประการ คือ

๑. คิดเร็ว  ๒. คิดถูก   และ ๓. ความคิดนั้นนำมาปฏิบัติได้

              ผู้จะคิดเก่งนั้น  หรือคิดได้เก่งนั้น  จะมีคุณลักษณะดังนี้

                                ๑.    มีความรู้พื้นฐานดี

                                ๒.    ชอบคบหาสมาคมกับผู้อื่นเสมอ

                                ๓.    มีสมาธิดี  ไม่คิดหลายเรื่องในขณะเดียวกัน

                                ๔.    เป็นนักสังเกตที่ละเอียดละออมาก

                                ๕.    มีมโนภาพที่แจ่มชัด

                                ๖.    มีความจำแม่นยำ

                                ๗.    กล้าคิดกล้าทำ

                                ๘.    ชอบหาความเจริญและเหตุผล

                                ๙.    มีไหวพริบดี

                              ๑๐.    หนักแน่นและอดทน

                              ๑๑.    ยอมรับผิด  เมื่อตนเห็นว่าผิด

                              ๑๒.    กล้าโต้แย้ง  เมื่อเห็นว่าสิ่งนั้นไม่ถูกต้อง

            อาการที่เรียกว่าประมาท ๑๑ ข้อ

                                ๑.     ไม่ตั้งใจทำ

                                ๒.     ไม่ทำโดยติดต่อไปเรื่อย ๆ

                                ๓.     ทำ ๆ  หยุด ๆ

                                ๔.     อ่อนแอ  ท้อแท้ใจ

                                ๕.     ไม่เต็มใจทำ

                                ๖.     ทอดธุระคือทิ้งธุระ

                                ๗.     ไม่ส้องเสพ

                                ๘.     ไม่ทำให้คุ้นเคย

                                ๙.     ไม่ทำจริง ๆ จัง ๆ

                               ๑๐.     ทำโดยไม่ตั้งใจ

                               ๑๑.     ไม่หมั่นประกอบเนือง ๆ


            จิตไม่สงบมีอยู่ ๘ ประการ

                                ๑.     มีไม่พอ

                                ๒.     ใช้เวลาว่างเกินไป

                                ๓.     ถูกเบียดเบียนจิตใจ

                                ๔.     อวัยวะไม่ตั้งอยู่ด้วยความปรกติ

                                ๕.     โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน

                                ๖.     ถูกสิ่งแวดล้อมดึงไปทางชั่ว

                                ๗.     ครอบครัวไม่มีความสุข

                                ๘.     มัวเมาอบายมุข

            เหตุที่จิตไม่เป็นสมาธิ

                                ๑.     นั่งไม่ถูกวิธี

                                ๒.     จิตตกกังวล

                                ๓.     เหนื่อยมาก

                                ๔.     ป่วยหรืออาพาธ

                                ๕.     ราคะเกิด

                                ๖.     โทสะเกิด

                                ๗.     อารมณ์มากระทบ

 


                                   ประพฤติธรรมสำคัญอยู่ที่จิต

                             ถ้าตั้งผิด        มัวหมอง        ไม่ผ่องใส

                             ถ้าตั้งถูก        ผุดผ่อง          ไม่หมองใจ

                             สติใช้            คุมจิต           ไม่ผิดนา


                                ๑.     ประหยัด  กริยา

                                ๒.     ประหยัด  ปาก

                                ๓.     ประหยัด  ความคิด

                                ๔.     ประหยัด  เวลา

                                ๕.     ประหยัด  ทรัพย์

              ความรู้จะเกิดขึ้นอย่างดี  ต้องมีความดีเข้าช่วย  คนเราพึ่ง การงาน กับ หน้าที่

                   ความดีคืออะไร ?  ความดีคือลักษณะ  เป็นที่ปรารถนาของทุก ๆ คน  เป็นที่สนใจของทุก ๆ คน  สร้างให้เกิดทางมารยาททางคำพูด  ทางแนวทางความคิด  เป็นที่พึงพอใจนับถือของคนทั่ว ๆ ไป  ภายในวงแคบไปหาวงกว้าง

              การสร้างความดีมี ๔ วิธีคือ

                                ๑.     สร้างให้มี  กตัญญูกตเวที

                                ๒.     สร้างให้มี  ความสุภาพ

                                ๓.     สร้างให้  ความเสียสละ

                                ๔.     สร้างให้มี  ความซื่อสัตย์

              ความดีเด่น  มีลักษณะ ๔ ประการคือ

                                ๑.     ความอ่อนน้อม                                   ๑. ความรักหน้าที่

                                ๒.     ความอ่อนหวาน                                ๒. ความสนใจความดี

                                ๓.     การรู้จักกาลเทศะ                               ๓. ความมีเหตุผล

                                ๔.     การรู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่                        ๔. ความเคารพความจริง

 

 

                                ๑.     ริเริ่มดำเนินงานดี

                                ๒.     มุ่งดี

                                ๓.     คิดดี

                                ๔.     กระทำดี

                                ๕.     ใครว่าใครด่าก็ดี

          . . . . . . . . . . . .