บทบาทของพระสงฆ์ กับ สังคมไทย
เรื่องกิจกรรมของพระสงฆ์
กับ สังคมไทย
1.
สิ่งที่จะต้องศึกษาแสวงหาความรู้ทั้งทางโลก และทางธรรม
2.
สิ่งที่จะต้องละความไม่ดีไม่งามทั้งหมด
3.
สิ่งที่จะทำให้แจ้งถึงจิตถึงใจ
4.
สิ่งที่ควรจะพัฒนา - ทำความเจริญทั้งรูปธรรม - นามธรรม
1.
วัดเป็นที่อาศัยพำนักของภิกษุสามเณร
2.
วัดเป็นที่บวชเรียนของลูกหลานชาวบ้าน
3.
วัดเป็นที่ทำบุญบำเพ็ญกุศลของชาวบ้านรอบวัด
4.
วัดและพระสงฆ์
เป็นที่พึ่งทางใจของประชาชน
5.
วัดเป็นศูนย์กลางทางกิจกรรมของสังคมและประชาชน
1.
ปกครองวัดมีระเบียบรัดกุม
2.
บริเวณวัดสะอาดร่มรื่น
3.
มีกิจกรรมอำนวยประโยชน์ต่อสังคม และประชาชน
การที่จะไปถึงเป้าหมายทั้ง
๓ ประการนั้น
มีจุดสำคัญที่เจ้าอาวาสจะพึงสนใจดูแลอยู่ ๘ จุดด้วยกัน คือ
1.
สงฆ์ คือ
พระในวัด
2.
สมณธรรม
คือ ทำกิจวัตร ลงอุโบสถ บิณฑบาต สวดมนต์ไหว้พระ กวาดอาวาสลานพระเจดีย์ รักษาผ้าครอง อยู่ปริวาสกรรม โกนผมปลงหนวดตัดเล็บ ศึกษาสิกขาบท และปฏิบัติอุปัชฌาย์อาจารย์ เทศนาบัติ พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง๔ เป็นต้น
3.
เสนาสนะ
คือ ที่อยู่อาศัย
4.
สวัสดิการ
คือ ปัจจัยอำนวยความผาสุข
5.
สมบัติของวัด คือ ผลประโยชน์รายได้
6.
สัปบุรุษ
คือ ชาวบ้านผู้บำรุงวัด
7.
สังฆาธิการ
คือ การประสานงานกับเจ้าคณะ
8.
สาธารณะสงเคราะห์ คือ การบำเพ็ญประโยชน์
1.
การจัดบริเวณอาคาร เสนาสนะ ให้สะอาดเรียบร้อยและร่มรื่น
2.
การปกครองบุคคลที่อาศัยอยู่ในวัด ให้อยู่กันด้วยความเรียบร้อย ให้พระภิกษุสามเณรเล่าเรียนพระธรรมวินัย
3.
ให้วัดทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม
1.
ศีลธรรม
วัฒนธรรม
2.
สุขภาพอนามัย
3.
สัมมาชีพ
4.
สันติสุข
5.
ศึกษาสงเคราะห์
6.
สาธารณสงเคราะห์
7.
กตัญญูกตเวทิตาธรรม
8.
สามัคคีธรรม
ประชาชน คือ คนทั้งปวง ที่ร่วมชะตากรรม อยู่ในบ้านเมืองเดียวกัน ดังนั้น ประชาชน คือ ชาติ
คุณธรรมที่ยึดเหนี่ยวของประชาชน คือ ศาสนา
ผู้นำของประชาชน คือ พระมหากษัตริย์
ประชาชนต้องการประเทศที่มั่นคง ปลอดภัย และเจริญก้าวหน้า
โดยเฉพาะ
คือ
1.
มีปัจจัยสี่เพียงพอ สำหรับดำรงชีวิต สำหรับตนเอง และครอบครัว
2.
มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
3.
ประชาชนต้องการบ้านเมือง มีความสงบ-สันติ และสังคมที่เป็นธรรม
4.
ประชาชนต้องการมีความสุขทางจิตใจ
1.
ประชาชนต้องการ ตัวอย่างมองความดีงาม
และผู้นำทางคุณธรรม โดยเฉพาะความเคร่งครัดทางวินัย และความเป็นผู้สันโดษมักน้อย
2.
ประชาชนต้องการ
วัดเป็นที่พึ่งพักพิงทางจิตใจของผู้มีทุกข์
ต้องการเห็นวัดเป็นที่สงบ เยือกเย็น สะอาดร่มรื่น มีระเบียบ
3.
ประชาชนต้องการ เห็นพระภิกษุเข้าหาประชาชน ปลอบขวัญ ให้กำลังใจ
แนะแนวทางแก้ปัญหาชีวิตให้
4.
ประชาชนต้องการ ให้วัดเป็นศูนย์กลางการพัฒนาชนบท
ให้ความร่วมมือสนับสนุนให้เกิดการรวมพลัง
แก้ปัญหาต่าง ๆ
5.
ประชาชนต้องการ ให้วัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษาด้านต่าง
ๆ ทั้งด้านหลักธรรมของพระศาสนา
และการอาชีพ
การปฏิรูปจิตใจของประชาชน ควรริเริ่มที่วัด
1.
ความเสื่อมศรัทธาของประชาชน
2.
ความไม่ต้องการของประชาชน
3.
ความพยายามทำลายของประชาชน
1.
คณะสงฆ์สามารถ เป็นที่พึ่งของประชาชนได้
2.
ให้พระภิกษุสามเณร สามารถเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนได้
3.
ให้พระศาสนา สามารถเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ
ในด้านปกครองตน ของประชาชนได้
1.
สมองว่าง
2.
ช่องว่างระหว่างบุคคล
3.
เวลาว่าง
4.
ทรัพย์พยากรณ์ว่าง
5.
การนำว่าง
สร้าง
๕ ร่วม
1.
ร่วมทุน
2.
ร่วมคิด
3.
ร่วมผลิต
4.
ร่วมขาย
5.
ร่วมป้องกัน
1. มีความรับผิดชอบ
2. มีความสุภาพสมบูรณ์ ทั้งอ่อนโยนและอ่อนหวาน
3. มีความจริงใจ และบริสุทธิ์ใจ ต่อหน้าที่และสังคม
4. มีความเสมอต้น เสมอปลาย
5. มีความเห็นอกเห็นใจ
และเข้าใจกัน ระหว่างเพื่อนร่วมงาน เด็กและผู้ใหญ่
6. มีความสุขุมรอบคอบ ในภาระกิจทั่วไป
7. สามารถแก้ไขคลี่คลาย แก้ปัญหาชีวิต และปัญหาสังคม และเหตุเกิดขึ้นเฉพาะหน้า สถานการณ์ปัจจุบัน ได้ทันท่วงที
8. ประกอบด้วยเมตตาธรรม ต่อหน้าและลับหลังในสังคมของเรา
1. พัฒนาความเป็นอยู่ของเรา ให้อยู่ง่ายขึ้น อย่าให้ยุ่งยากนัก
2. พัฒนาความเป็นอยู่ให้เรียบ
ๆ อย่าให้หรูหรานัก
3. พัฒนาความเป็นอยู่ให้เหมาะสมกับฐานะ
4. พัฒนาใจให้ยึดมั่นความจริงเป็นหลัก
5. ให้ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นตัวหลัก
ของญาณการพัฒนาที่อยู่ด้วยความถูกต้องทุกประการ
1.
ช่วยเหลือผู้อื่นทำความดี
2.
รักและเคารพทุกคน
อย่างเสมอหน้า
3.
สนับสนุนผู้อื่นให้มีความดีพร้อม
4.
ชี้ทางให้ผู้อื่นทำความดี
5.
ช่วยเหลือผู้อื่น
ผู้ที่อยู่ในความคับขัน
6.
กระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
7.
ไม่ทำตนเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์ หมั่นบริจาค
8.
ธำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรม
9.
เคารพผู้มีอาวุโสกว่า
10.
รักชีวิตผู้อื่น
ดุจรักชีวิตของตนเอง
1.
พระสงฆ์ต้องมีประสิทธิภาพ
2.
การพัฒนาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งส่วนหนึ่งของชีวิต และสิ่งทั้งหลาย ที่เนื่องด้วยชีวิตคน เพราะคนและสิ่งที่เนื่องด้วยชีวิตคนทุกประการ ย่อมมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการพัฒนา ถ้าไม่มีการพัฒนา หรือหยุดการพัฒนา ก็ย่อมหมดชีวิต คือ ถึงความสิ้นสุดทันที
3.
คำว่า พัฒนา ท่านแปลว่า ความเจริญ คำว่า ความเจริญ หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เหมาะสม
ชีวิตทุกชีวิต
และสิ่งที่เนื่องด้วยชีวิตทุกอย่างย่อมแปรปรวน เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของมัน
ตราบใดที่ยังเป็นชีวิตอยู่หรือยังมีชีวิตอยู่ ก็จะหนีความเปลี่ยนแปลงไปไม่พ้น
เพราะถ้าหยุดเปลี่ยนแปลงเมื่อใดก็ย่อมถึงความสิ้นสุดเมื่อนั้น
4.
ความเปลี่ยนแปลงนั้นมีสองทาง คือ
ความเปลี่ยนแปลงในทางที่เหมาะสม ๑
กับความเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่เหมาะสมอีก ๑ ความเปลี่ยนแปลงในทางที่เหมาะสม เรียกว่า ความเจริญ ความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เหมาะสม
เรียกว่า ความเสื่อม
5.
พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ก็จัดว่าเป็นสิ่งมีชีวิต
หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยชีวิต จึงต้องอยู่คู่กับการพัฒนา ถ้าขาดการพัฒนาก็หมดชีวิต หรือขาดชีวิต เพราะไม่มีชีวิต
6.
คำว่า ชีวิต หมายถึง ความปรากฏอยู่แห่งผลของการงาน
และหน้าที่ ชีวิตคนก็คือ
ความปรากฏอยู่แห่งการงานที่จริงของคน
อันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของคน
ซึ่งเกิดมาเพื่อช่วยกันสร้าง
มิใช่คอยมุ่งช่วยกันทำลาย
ชีวิตของพระสงฆ์ในวัดพระพุทธศาสนา จึงได้แก่แหล่งที่ปรากฏออกมา ซึ่งผลแห่งการงานของพระพุทธศาสนา ซึ่งปกคลุมอยู่ด้วยความปกติสุข และความสงบสุขทุกประการ ตลอดเวลา
7.
วัดในพระพุทธศาสนา เกิดขึ้นและดำรงอยู่ด้วยความมุ่งหมาย
ดังต่อไปนี้ คือ
1.
เพื่อประกาศพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความมุ่งหมายให้คนทำความดี
เพื่อช่วยตนและคนอื่นให้มีความปกติสุข เว้นการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
2.
เพื่อเป็นที่อยู่ของภิกษุสงฆ์
ผู้มีหน้าที่ดำรงพระพุทธศาสนาไว้เพื่อตนและประชาชน โดยการกระทำ ๓ ประการ คือ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ๑ ตั้งใจปฏิบัติพระธรรมวินัย ๑
เพื่อตนกับเพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน เพราะทุกวันนี้ ได้ยินแต่เสียงที่สอนให้ทำดี แต่คนที่ทำดีให้เห็นหายากอย่างยิ่ง ๑
ตั้งใจสอนประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจพระธรรมวินัยถูกต้อง ๑
พระธรรมวินัยเป็นคุณความดีที่เหมาะสมแก่คนทุกคน มีความหมายคู่มือในการครองตนที่ดียิ่ง
พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ย่อมมีชีวิตอยู่ด้วยความสงบ ทำตนให้มากกว่าเป็นผู้รับ ละเว้นความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่รุนแรง ไม่ทะเยอทะยานในเรื่องลาภ ยศ
มีน้ำใจประกอบด้วยเมตตา มีความเลื่อมใสมั่นในกฎของกรรม และมุ่งความสงบเป็นที่ตั้ง
ชีวิตของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ปัจจุบันนี้มีความหมายที่การบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อการพระศาสนา ๑ การศึกษา ๑ การสังคมสงเคราะห์ที่ไม่ขัดต่อสมณวิสัย ๑
1.
เพื่อเป็นที่บำเพ็ญบุญที่มีเหตุผลของประชาชนทั่วไป
2.
เพื่อเป็นแหล่งของการศึกษา และเป็นที่ก่อกำเนิดของคุณธรรมทั้งหลาย
โดยเฉพาะที่เป็นสำคัญ ก็คือ สัจจะ
เมตตา สามัคคี มีวินัย ซึ่งเป็นหัวใจของชุมชนทั่วไป
3.
เพื่อเป็นศูนย์แห่งวัฒนธรรมประจำหมู่บ้าน
ชีวิตวัดในพระพุทธศาสนา มีภาวะเหมือนชีวิตคนประการหนึ่ง คือ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วน ได้แก่
1. รูป คือ ร่างประกอบด้วย ที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณร คือ
กุฏิ ที่บำเพ็ญกิจสงฆ์ คือ อุโบสถ ที่บำเพ็ญ คือ ศาลาการเปรียญ ที่ศึกษาเล่าเรียน คือ โรงเรียน และสถานที่อื่น ๆ ตามความจำเป็น และความต้องการที่ชอบอีกตามสมควร สถานที่เสนาสนะกุฏิเหล่านี้
สร้างขึ้นให้มีขนาดเหมาะสมตามความจำเป็น มิใช่มุ่งความใหญ่โตสวยงาม ได้รับการตบแต่งให้เรียบร้อย ไม่หรูหรา เหมือนสถานที่ของชาวบ้าน บริเวณโดยรอบของเสนาสนะกุฏิและสถานที่เหล่านั้น สะอาด เรียบร้อย ปราศจากความเลอะเทอะ
รกรุงรังทุกประการ
2. นาม คือ จิตใจ ประกอบด้วยสมณะสัญญา สมณะสารูป และสมณะปฏิปทา คือ การเรียน การปฏิบัติ การสอน ของพระภิกษุสามเณร กับบุญกิริยา และธรรมศึกษา สัมมาปฏิบัติ ของทายก ทายิกา ประชาชนทั่วไป
วัดที่ขาดส่วนประกอบสำคัญ
๒ อย่างนี้ ส่วนใดส่วนหนึ่ง คือ
มีแต่รูป ไม่มีนาม หรือมีแต่นามไม่มีรูป หามีสภาพเป็นวัดในพระพุทธศาสนาไม่ ควรเรียกว่า วัดตาย เพราะไม่มีทางที่จะให้เกิดประโยชน์อะไรได้
กระผมมีความสลดใจและเกิดความวิตกกังวลถึงภัยอันตรายที่จะมีมาสู่พระพุทธศาสนา
อันเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดในอนาคตอันใกล้เป็นอย่างมาก
ในเมื่อนึกถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ คือ
วัดบางวัดค่อนข้างมีจำนวนมาก ในหัวเมือง
คนมีความสนใจเฉพาะการสร้างเพียงรูปวัดเท่านั้น ไม่นึกถึงการสร้างนามวัด หรือ จิตใจวัดบ้างเลย คือ พยายามสร้างกันแต่กุฏิ ศาลาการเปรียญ โบสถ์ หอสวดมนต์ หอฉัน หอระฆัง และสิ่งอื่น ๆ อย่างใหญ่โตสวยงาม หรูหรา
ใช้เงินจำนวนมากโดยการรบกวนประชาชนให้ต้องจำยอมเสียสละด้วยอุบายต่าง ๆ
ซึ่งไม่ตรงพุทธประสงค์
ทำให้ประชาชนเกิดความท้อถอย
เสื่อมศรัทธากับต้องเดือดร้อน
เพราะเรื่องสร้างวัด
แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็ไม่ใช้ทำอะไรตามที่แสดงเจตนารมณ์ออกมาเพื่อโฆษณาชวนเชื่อ