เป้าหมายการพัฒนาวัด
รวบรวมโดย
พระราชสุทธิญาณมงคล
วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี
1.
ปกครองมีระเบียบรัดกุม
2.
บริเวณวัด
สะอาดร่มรื่น
3.
มีกิจกรรมอำนวยประโยชน์แก่ประชาชน
การที่จะไปถึงเป้าหมายทั้ง
๓
นั้นได้มีจุดสำคัญที่เจ้าอาวาสจะพึงสนใจดูแลอยู่ ๘ จุดด้วยกัน คือ
1. สงฆ์ คือ พระในวัด
2. สมณธรรม คือ ทำกิจวัตร
3. เสนาสนะ คือ ที่อยู่อาศัย
4. สวัสดิการ คือ ปัจจัยอำนวยความผาสุข
5. สมบัติของวัด คือ ผลประโยชน์รายได้
6. สัปบุรุษ คือ ชาวบ้านผู้บำรุงวัด
7. สังฆาธิการ คือ การประสานงานกับเจ้าคณะ
8. สาธารณะสงเคราะห์ คือ การบำเพ็ญประโยชน์
ประชาชนคือใคร
?
ประชาชน คือ คนทั้งปวง ที่ร่วมชะตากรรม อยู่ในบ้านเมืองเดียวกัน
ดังนั้น ประชาชน คือ ชาติ คุณธรรมที่ยึดเหนี่ยวของประชาชน คือ
ศาสนา
ผู้นำของประชาชน คือ
พระมหากษัตริย์
ประชาชนต้องการอะไร
?
ประชาชนต้องการประเทศที่มั่นคง
ปลอดภัย และเจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะ คือ
1.
มีปัจจัยเพียงพอ
สำหรับดำรงชีวิต
สำหรับตนเอง และครอบครัว
2.
มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
3.
ประชาชนต้องการบ้านเมือง มีความสงบ-สันติ และสังคมที่เป็นธรรม
4.
ประชาชนต้องการมีความสุขทางจิตใจ
ประชาชนหวังความช่วยเหลือจากภิกษุสงฆ์อย่างไร
?
1.
ประชาชนต้องการ วัดเป็นที่พึ่งพักพิงทางจิตใจ ของผู้มีทุกข์ ต้องการเห็นวัดเป็นที่สงบ เยือกเย็น
สะอาดร่มรื่น มีระเบียบ
2.
ประชาชนต้องการ เห็นพระภิกษุเข้าหาประชาชน ปลอบขวัญ ให้กำลังใจ
แนะแนวทางแก้ปัญหาชีวิตให้
3.
ประชาชนต้องการ ให้วัดเป็นศูนย์กลางการพัฒนาชนบท
ให้ความร่วมมือสนับสนุนให้เกิดการรวมพลัง
แก้ปัญหาต่าง ๆ
4.
ประชาชนต้องการ ให้วัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษาด้านต่าง
ๆ ทั้งด้านหลักธรรมของพระศาสนา
และการอาชีพ
การปฏิรูปจิตใจของประชาชนควรริเริ่มที่วัด
ภัยของพระภิกษุที่ต้องแก้มีอยู่
๓ ข้อ คือ
1.
ความเสื่อมศรัทธาของประชาชน
2.
ความไม่ต้องการของประชาชน
3.
ความพยายามทำลายของประชาชน
ข้อที่ต้องแก้ไข
1.
คณะสงฆ์สามารถ เป็นที่พึ่งของประชาชนได้
2.
ให้พระภิกษุสามเณร สามารถเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนได้
3.
ให้พระศาสนา
สามารถเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ในด้านปกครองตนของประชาชนได้
การพัฒนาวัดที่ไม่ต้องใช้เงิน
- ทุน
เนื่องจากบ้านเมืองตกอยู่ในสภาพที่เลวร้าย เต็มไปด้วยปัญหาอาชญากรรม
เจ้าหน้าที่จะแก้ไขปราบปรามอย่างไรก็ไม่อาจจะปราบให้หมดสิ้นได้ ดูเหมือนจะยิ่งเพิ่มมากยิ่งขึ้น เมื่อหมดหนทางแก้ไข ก็เริ่มมองเห็นความสำคัญของวัดขึ้นมาบ้างแล้ว
ได้ใช้วัดเป็นจุดศูนย์กลางในการพัฒนาจัดกิจกรรมต่าง ๆ แต่น่าเสียดาย การจูงคนเข้าวัด ไปประชุมกันที่วัด ไปทำอะไร ๆ ที่วัด เป้าหมายของการเข้าวัด ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย จึงไม่ได้ผลในการพัฒนาจิต เงื่อนไขที่สำคัญในการจูงคนเข้าวัด
ซึ่งถือเป็นแบบแผนที่ดีงามตามแนวทางของพระพุทธศาสนา บรรพบุรุษได้ถือปฏิบัติมาแล้วในอดีต คือ
วันพระ วันพระเป็นวันสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติไว้ ใช้เป็นวันทำความดีในการพัฒนาจิตใจ แต่วันพระได้ถูกลืม และได้ถูกโยนทิ้งไปเหมือนสิ่งไร้ค่า
เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า หลักธรรมในพระพุทธศาสนาดีเลิศ พร้อมด้วยเหตุผล ทนต่อการพิสูจน์ เข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์ แต่ก็ยังแคลงใจสงสัยอยู่ว่า เหตุไฉน
ประเทศไทยซึ่งมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ภายใต้เงาของพระพุทธศาสนา ประเทศไทยน่าจะอยู่ร่มเย็นเป็นสุข แต่สภาพการณ์ กลับตรงกันข้าม
บ้านเมืองเต็มไปด้วยความเลวร้ายนานาประการ เหมือนเป็นเมืองป่า เมืองเถื่อน อย่างไร้ความยุติธรรม เช่น โจมตีว่า
สาเหตุที่ประเทศไทยด้อยพัฒนา
ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควรเพราะพระพุทธศาสนาเป็นตัวถ่วง
อย่างไรก็ตาม หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนานั้น
เป็นเพียงทฤษฎี หรือคำสอน
ถึงจะดีเลิศวิเศษเพียงใด
ถ้าไม่นำไปปฏิบัติก็ไร้ค่าเหมือนข้าวปลาอาหาร ถ้าไม่รับประทานก็ไม่เกิดประโยชน์
ปัญหาจึงมีอยู่ว่า
เราได้นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนาไปใช้ประพฤติปฏิบัติกันอย่างจริงจังแล้วหรือยัง เท่าที่เป็นมาเข้าลักษณะตามใจ คือไทยแท้ ๆ
ประพฤติกันตามสบายยังไง ๆ ก็ได้
ขาดระบบ ขาดแบบที่ถูกต้องดีงาม
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระพุทธศาสนา
ไม่เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติเท่าที่ควร
1.
การพัฒนาไม่ต้องใช้เงินเรื่องหนึ่ง
2.
กับปัญหาโรคจิตอีกเรื่องหนึ่ง
จะได้ชี้แนะการปฏิบัติ ประสบการณ์ ธรรมะพื้นฐานหรือขั้นต้น ความมุ่งหมายและการแก้ ป.ป.ร.ก.
จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงริเริ่มดำเนินการให้ดีขึ้นต่อไป
คุณสมบัติในการทำงานพัฒนา
งานทุกอย่างต้องมีปัญหา เพราะปัญหาอยู่กับงาน คนทุกคนก็มีปัญหา
เพราะปัญหาอยู่กับคน เหมือนโรคอยู่กับร่างกาย
การทำงานจะได้ผลคุ้มค่า
ต้องทำงานด้วยน้ำใจที่สู้กับปัญหา และการอยู่กับคน
จะสมความปรารถนาก็ต้องอยู่อย่างนักสู้ปัญหา
การสู้ปัญหา
ย่อมเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของการทำงาน เพราะปัญหาเหมือนศัตรู ถ้าใครรู้จริงก็แพ้ ถ้าใครอ่อนแอก็กำเริบ
อย่าเสี่ยงปัญหา
- อย่ากลัวปัญหา
อย่าหมกปัญหา เพราะจะทำให้ปัญหาเล็ก กลายเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งยากแก่การแก้ไขยิ่งขึ้น
การสู้ปัญหาต้องสู้ด้วย
1.
ความจริงใจ
บริสุทธิ์ใจ
2.
สติปัญญา
ความอดทนหนักแน่น
3.
ใจเย็น
สุภาพอ่อนโยน อ่อนหวาน
4.
ข้อเท็จจริง
5.
เหตุผล
6.
ระเบียบแบบแผน
7.
จารีตประเพณี
จับวิธีทำงานให้ถูกต้อง
1.
จับ ใจงานไว้ให้อยู่
2.
จับ ตาดูการเปลี่ยนแปลง
3.
จับ จุดแข็งแกร่ง และอ่อนแอ
4.
จับ เงื่อนและแง่ของงานมาเชื่อมโยงกัน
คุณสมบัติ
1.
มีความอดทน
2.
มีความขยัน
3.
มีความเอ็นดูเมตตา
4.
มีความระมัดระวัง
5.
มีการเผื่อแผ่ การเสียสละแบ่งปัน
วิธีการแก้ภายใน
โดยอาศัยหลัก ลด ๕ ว่าง สร้าง ๕ ร่วม
ลด ๕ ว่าง คือ
1.
สมองว่าง
2.
ช่องว่างระหว่างบุคคล
3.
เวลาว่าง
4.
ทรัพย์พยากรณ์ว่าง
5.
การนำว่าง
สร้าง
๕ ร่วม
1.
ร่วมทุน
2.
ร่วมคิด
3.
ร่วมผลิต
4.
ร่วมขาย
5.
ร่วมป้องกัน