พุทธศาสนาเป็นเรื่องของการทำใจ
พระราชสุทธิญาณมงคล
ชีวิตคนเรามันไหลอยู่ตลอดเวลา
เป็นก้อนเนื้อที่มันไหลมาและจะไหลไปต่อไปไม่สิ้นสุด
อวัยวะร่างกายของเรา มันจะแก่มันจะไหลไปสู่ความแก่ เราห้ามไม่ได้
ฝนจะตก
น้ำจะท่วม ลมจะพัด แดดจะร้อน อากาศจะหนาว เราห้ามไม่ได้
พ่อแม่พี่น้องของเรา ท่านจะแก่ จะเจ็บ จะตาย เราห้ามไม่ได้
เพราะขาดประสบการณ์ทางจิต เราจึงรัก เราจึงหลง เราจึงร้องไห้
เพราะมีประสบการณ์ทางจิตเราจึงไม่รัก ไม่หลง ไม่ร้องไห้
พระอริยะอรหันต์ พระพุทธเจ้า ก็ป้องกันไม่ให้ใครแก่เจ็บตายได้
แต่ท่านเหล่านั้น มีประสบการณ์ทางจิต ทำใจได้ไม่เป็นทุกข์ ไม่ร้องไห้ ไม่เสียใจ
ปุถุชนเช่นเรา ขาดประสบการณ์ทางจิต ทำใจไม่ได้ จึงเป็นทุกข์ จึงร้องไห้ จึงเสียใจ
อริย-ปุถุชน ต่างกันตรงที่ทำใจได้ และทำใจไม่ได้
ความเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง รวมทั้งนามธรรมในภายในด้วย ชื่อว่าเป็นธรรมชาติ
ความเสื่อมดับไปรวมทั้งความเสื่อมดับไปของนามธรรมในภายในด้วย ชื่อว่าเป็นกฎเกณฑ์ของโลกธรรมชาติ
ความเข้าไปรู้ความเกิดดับของสรรพสิ่ง และนามธรรมในภายใน ชื่อว่ามีประสบการณ์-ปฏิบัติธรรมได้ผล คือไม่ทุกข์ ไม่ร้องไห้ ไม่เสียใจ (ความไม่ทุกข์-ไม่ร้องไห้-ไม่เสียใจ ชื่อว่าเก่ง-อริยะ)
พระอริยะทั้งหลาย และพระพุทธเจ้า ร่างกายเป็นเสมอปุถุชนทั่วไปคือไม่เที่ยง
พระพุทธเจ้า-พระอริยะ จิตเป็นพุทธะ
ปุถุชน ร่างกายเป็นพระไตรลักษณ์ จิตใจ ไม่ยอมรับความจริง จึงเป็นทุกข์ จึงร้องไห้ จึงเสียใจ
------------------------------