เรื่องหนอ
พระราชสุทธิญาณมงคล
K00068
คำว่า หนอ นี้
พุทธบริษัทผู้ที่ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนบาลีมา
ย่อมจะต้องมีความข้องใจสงสัยไปตามวิจิกิจฉาเจตสิกของตนต่างๆ นานา บางท่านก็อาจจะคิดไปต่างๆ ในทางเป็นบุญเป็นกุศล บางท่านก็อาจจะคิดไปในทางไม่ดีไม่งาม เป็นบาปเป็นอกุศล บางท่านก็อาจจะวางตนเป็นกลางเฉยๆ คือฟังหูไว้หู
ฝ่ายท่านที่เป็นมหาเปรียญได้ผ่านการเรียนบาลีไวยากรณ์แปลธรรมบท แปลมงคลทีปนี เป็นต้น มาดีแล้ว ก็คงจะเข้าใจดีอยู่แล้ว ข้าพเจ้าได้ถูกถามเรื่องหนอนี้มามากต่อมากแล้ว บางท่านก็ตั้งใจให้ข้าพเจ้าเป็น อาจารย์หนอ หรือ หลวงพ่อหนอ
ก็มีบางท่านก็เอาไปล้อเลียนกันเล่นเป็นของสนุกไปได้ บางท่านก็อยากมาทดลองดู
บางท่านก็ว่าปู่ย่าตายายของตนไม่เคยได้รู้ได้เห็น และบางท่านก็เกลียดหนอเสียจริงๆ ก็มี
ข้าพเจ้าได้เทศน์เรื่องหนอนี้มาหลายครั้งแล้ว เมื่อมีผู้ถามก็ตอบไปตามหลักฐาน เหตุผล ตัวอย่าง
และความเข้าใจอันเกิดจากการศึกษาทั้งภาคปริยัติและภาคปฏิบัติผสมกัน พูดแล้ว เทศน์แล้วก็หายไป อยากจะให้คำพูดนั้นคงเป็นอนุสรณ์อยู่ต่อๆ
ไป โดยเข้าใจว่าจะเป็นประโยชน์
แก่ผู้ใคร่ต่อการศึกษาบ้างไม่มากก็น้อย เท่าที่สติปัญญาของข้าพเจ้าจะเรียบเรียงได้ เพราะฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงได้เรียบเรียงเรื่องหนอนี้ขึ้น
โดยตั้งเป็นคำถาม คำตอบ ตัวอย่าง หลักฐาน เหตุผลดังต่อไปนี้
ถาม คำว่า
หนอ เป็นภาษาอะไร?
ตอบ เป็นภาษาไทย
ถาม ถ่ายทอดมาจากภาษาอะไร?
ตอบ จากภาษาบาลี
ถาม เดิมมาจาศัพท์บาลีอะไร?
ตอบ มาจาศัพท์บาลีว่า วต
(อ่านว่า วะตะ)
ถาม ตัวอักษร
๒ ตัว คือ ว + ต นี้จากศัพท์ที่แท้จริง ตามอักษรศาสตร์
เป็นมาอย่างไร?
ตอบ เป็นมาอย่างนี้ คือ
ว มาจาก วฏฏสํสารํ แปลว่า วัฏฏสงสาร ย่อเป็น ว
ต มาจาก ตาเรติ แปลว่า ยังสรรพสัตว์ให้ข้าม ย่อเป็น ต
ต่อกันเข้าเป็น
วฏฺฏสัสารํ ตาเรตีติ = วโต แปลว่า
ธรรมใดยังสัตว์ทั้งหลายย่อมให้ข้ามซึ่งวัฏฏสงสาร เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า วต
วต
นี้เป็นคำย่อดุจคำย่อในภาษาไทย
ภาษาต่างประเทศ เช่น
ม.จ.ร. อ.จ.ร. U.S.A. เป็นตัวอย่าง
หมายความว่า
วต
นี้เป็นชื่อของธรรมที่สามารถยังบุคคลที่ปฏิบัติตามให้ข้ามพ้นจาก วัฏฏะ ๓ และสงสาร ๓ คือสามารถยังผู้นั้นให้ถึงมรรค ผล
นิพพาน ได้อย่างแน่นอน
วัฏฏะ แปลว่า วน
มีอยู่ ๓ ประการ
๑.
กิเลสวัฏฏ วนคือกิเลส
๒.
กรรมวัฏ วนคือกรรม
๒.
วิปากกวัฏ วนคือวิบาก
สงสาร แปลว่า ท่องเที่ยวไปมีอยู่ ๓ อย่าง
๑.
เหฏฐิมสงสาร สงสารเบื้องต่ำ ได้แก่ อบายภูมิ ๔
๒.
มัชฌิมสงสาร สงสารท่ามกลาง ได้แก่ มนุสสภูมิ เทวภูมิ
๓.
อุปริมสงสาร สงสารเบื้องสูง ได้แก่ รูปภูมิ อรูปภูมิ
ถาม หนอ มีมาแต่เมื่อไร?
ตอบ มีมานานแล้ว ดังใจความย่อต่อไปนี้
เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่เวฬุวัน ท่านพระสารีบุตรเถระเจ้า ปรินิพพาน ณ ห้องที่ท่านเกิด ในหมู่บ้านนาลกะ เมื่อวันเพ็ญเดือน ๑๒ พระมหาโมคคัลลานะ ปรินิพพานในวันสิ้นเดือน ๑๒ พระพุทธองค์ทรงพระดำริว่า เมื่อคู่อัครสาวกปรินิพพานแล้วอย่างนี้ แม้เราก็จักปรินิพพานในเมืองกุสินารา
เสด็จจาริกไปโดยตามลำดับจนถึงเมืองนั้น เสด็จบรรทมด้วยพระอนุฏฐานไสยา เหนือพระแท่น หันพระเศียรทางอุตตรทิศ ระหว่างไม้สาละทั้งคู่ ครั้งนั้นพระอานนท์เถรเจ้า กราบทูลอ้อนวอนพระองค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า อย่าได้เสด็จปรินิพพานในเมืองเล็กๆ
นี้ เพราะเป็นเมืองดอน เป็นเมืองเขิน เป็นเมืองกิ่ง เชิญพระองค์ปรินิพพาน ณ เมืองใหญ่ เช่น จัมปากะ เมืองราชคฤห์ เป็นต้น พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ เธออย่ากล่าวว่า
นครนี้เป็นเมืองเล็กๆ เมืองดอนเมืองกิ่งเลย
เพราะว่าครั้งก่อนในรัชกาลพระเจ้าจักรพรรดิ์สุทัศนะ เราอยู่ในเมืองนี้แวดล้อมด้วยกำแพง ๑๒
โยชน์ เป็นมหานครมาแล้ว
พระเถรกราบทูลอาราธนาเมื่อทรงนำอดีตนิทานมาตรัสมหาสุทัสนสูตรว่า
ตทา ปน
มหาสุทสฺสนํ
สุธมฺมปฺปาสาทา โอตริตวา ในครั้งนั้น เมื่อพระนางสุภัททาเทวีทอดพระเนตรเห็นพระเจ้ามหาสุทัสนะ
เสด็จลงจากปราสาทสุธัมมาเสด็จบรรทมโดยอนุฏฐานไสยา
โดยพระปรัศเปลื้องทักษิณเหนือพระแท่นอันควร ล้วนแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ อันราชบุรุษจัดไว้ในป่าตาล จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อมพระนคร ๘๔๐๐๐ มีราชธานีกุสาวดีเป็นประมุขเหล่านี้ เป็นของทูลกระหม่อม โปรดทรงพอพระหฤทัยในพระนครเหล่านี้เถิด
พระเจ้ามหาสุทัศนะตรัสว่า เทวีอย่าได้พูดอย่างนี้เลย จงตักเตือนฉันอย่างนี้เถิดว่า
พระองค์จงกำจัดความพอใจในมหานครเหล่านั้นเสียจงได้เถิด อย่าทรงกระทำการห่วงใยเลย ตรัสตอบว่า เราต้องตายในวันนี้
ทันใดนั้นพระเทวีก็ทรงพระกรรแสงเช็ดพระเนตร สตรี ๘๔๐๐๐ นางก็พากันร้องไห้ร่ำไร พวกอำมาตย์ราชบริพารก็ไม่สามารถจะอดกลั้นไว้ได้ พากันร้องไห้ระงมไปหมด พระโพธิสัตว์ทรงห้ามคนทั้งหมดว่า อย่าเลยสูทั้งหลาย อย่าได้ส่งเสียงไปเลย แล้วตรัสเตือนพระเทวีว่า เทวีเธออย่ากรรแสงเลย อย่าร่ำไห้เลย
เพราะสังขารคือรูปนามเชื่อว่าเที่ยงสักเท่าเมล็ดงาไม่มีเลย
ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยงมีความสลายเป็นธรรมดาทั้งนั้น เมื่อจะทรงสั่งสอนพระเทวี จึงตรัสเป็นคาถานี้ว่า
อนิจฺจา วต
สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน
อุปฺปชฺชิตวา นิรุชฺฌนฺต เตสํ วูปสโม สุโข
สังขารคือรูปนามทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไปแตกไป ตายไป
การเข้าไปสงบระงับแห่งสังขารเหล่านั้นเสียได้เป็นสุขแท้ ดังนี้
อธิบายขยายความตามอรรถคาถา
มีอรรถาธิบายว่า ดูกรสุภัททาเทวีผู้เจริญ
สังขารทั้งหมดทั้งที่มีวิญญาณและหาวิญญาณมิได้ ไม่เที่ยงเลย เพราะมีความเกิดขึ้นและเสื่อมลง สลายไปเป็นธรรมดา เป็นไปชั่วขณะ เปลี่ยนแปลงไปได้ไม่ยั่งยืน เป็นของหวั่นไหวแปรผันไร้สาระ เป็นของหลอกลวงดุจพยับแดดและฟองน้ำ ถ้าสังขารเหล่านี้สงบระงับคือถึงพระปรินิพพานอย่างเดียวเท่านั้น จึงจะเป็นสุขแท้โดยส่วนเดียว
เมื่อพระเจ้ามหาสุทัศนะ ทรงยืดออกแห่งเทศนาด้วยอมตมหานิพพาน ประทานโอวาทแก่พระมหาชนนีที่เหลือว่า ท่านทั้งหลาย จงรักษาศีล จงรักษาอุโปสถกรรมเถิด แล้วได้สวรรคตไปสู่เทวโลก
พระองค์ทรงประชุมชาดกว่า
สุภัททาเทวีในครั้งนั้นได้มาเป็นมารดาราหุล ขุนพลแก้วได้มาเป็นราหุล บริษัทที่เหลือได้มาเป็นพุทธบริษัท
ส่วนพระเจ้ามหาสุทัศนะได้มาเป็นเราตถาคตนี้แล
ตามที่แสดงมานี้ ก็ชี้ให้เห็นได้เด่นชัดแล้วว่า วต
แปลว่า หนอ และหนอนี้ได้มีมานนานแล้ว
ถาม คำว่า หนอ ซึ่งเป็นพระพุทธพจน์
ปรากฏว่าพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้มีปรากฏอยู่ในที่ไหนบ้าง?
ตอบ ๑.ปรากฏอยู่ในธัมมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งเรียกว่าปฐมเทศนา คือเทศน์กัณฑ์แรกในโลก พระพุทธองค์ได้ตรัส วต
ซึ่งแปลว่า หนอ ไว้ว่า
อญฺญาสิ วต
โภ โกณฺทัญฺโญ
อญฺญาสิ วต
โภ โกณฺทัญฺโญ
โกณทัญญะ ได้รู้แล้ว หนอ
โกณทัญญะ ได้รู้แล้ว หนอ
๒.ปราฏอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ หน้า ๒๐ ว่า
อจิรํ วตยํ กาโย ปจวึ อธิเสสฺสติ
ฉุฑโฑ อเปตวิญฺญาโน นิรตฺถํว กลิงฺครํ
ร่างกายนี้ถูกทอดทิ้งไว้เพราะไร้วิญญาณ ไม่นานหนอ จักต้องทับถมแผ่นดิน ดุจท่อนไม้อันไม่มีประโยชน์ ฉะนั้น
๓.ปรากฏอยู่ในธรรมบทภาค
๖ ว่า
สุสุขํ วต
ชีวามะ เวริเนสุ อเวริโน
เวริเนสุ มนุสฺเสสุ วิหราม อเวริโน
บรรดาคนทั้งหลาย ผู้มีเวรต่อกันและกัน เราไม่มีเวรเป็นอยู่สบายดีหนอ เมื่อพวกมนุษย์มีเวรต่อกันและกัน เราไม่มีเวรเป็นอยู่สบายดีหนอ
สุสุขํ วต
ชีวาม อาตุเรสุ อนาตุรา
อาตุเรสุ อนุสฺเสสุ วิหราม อนาตุรา
บรรดาคนทั้งหลาย ผู้กระสับกระส่ายเพราะกิเลส เราเป็นผู้ไม่กระสับกระส่าย เพราะไม่มีกิเลสเป็นอยู่สบายดีหนอ
เมื่อพวกมนุษย์กระสับกระส่าย เราไม่กระสับกระส่าย เป็นอยู่สบายดีหนอ
สุสุขํ วต
ชีวาเม อุสฺสุเกสุ อนุสฺสุกา
อุสฺสุเกสุ มนุสฺเสสุ วิหราม อนุสฺสุกา
บรรดาคนทั้งหลาย ผู้ขวนขวายหากามคุณ ๕ เราเป็นอยู่สบายดีหนอ เพราะไม่มีการขวนขวาย ไม่มีการแสวงหากามคุณ ๕ เมื่อพวกมนุษย์แสวงหากามคุณ ๕ เราไม่แสวงหา เป็นอยู่สบายดีหนอ
๔.ปรากฏอยู่ในประไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ หน้า ๔๒ ว่า
สุสุขํ สว
ชีวาม เยสนฺโน นตฺถิ กิญฺจนํ
ปีติภิกฺขา ภวิสสาม เทวา อาภสฺ สรา
ยถา
กิเลสเครื่องกังวลไม่มีแก่เราทั้งหลาย เราทั้งหลายเป็นอยู่สบายดีหนอ เรามีปีติเป็นอาหารใจ ดุจเทวดาเหล่าอาภัสสรา ฉะนั้น
๕.ในอรรถกถาแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร ท่านเล่าเรื่องไว้ว่า
พระปิติมัลลเถรในเวลาเป็นคฤหัสถ์ได้ถือธงถึง ๓
รัชกาลมาสู่ตามพบปัณณิปทวีป
ได้ฟังธรรมเกิดความเลื่อมใสได้บรรพชาอุปสมบท พาภิกษุ ๓๐ รูป ไปเจริญกรรมฐานอยู่ในป่า ท่านเดินจงกรมจนเท้าแตก เมื่อเดินไม่ได้ก็คลานจงกรม นายพรานไปหายิงเนื้อ
เข้าใจว่าเป็นเนื้อจึงซัดหอกไปถูกท่าน ท่านถอดหอกออกแล้วเอาหญ้าแห้งปิดปากแผลไว้
ให้เพื่อนประคองลุกขึ้นนั่งพิงก้อนหิน เจริญวิปัสสนากรรมฐาน
จึงได้บรรลุเป็นพระอรหันต์จึงได้เปล่งอุทานนี้ว่า
ภาสิตํ พุทฺธเสฏฐสฺส สพฺพโลกคฺควาทิโน
น ตุมฺหากมิทํ รูปํ ตํ
ชเหยฺยาก ภิกฺขโว
อนิจฺจา วต
สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน
อุปฺปชฺชิตวา นิรุชฺฌนฺติ เตสํ วูปสโม สุโข
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด มีปกติตรัสที่สุดแห่งโลกทั้งปวงได้ตรัสไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลายรูปนี้ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย
สังขารคือรูปนามไม่เที่ยงหนอ
มีความเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา
เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ถ้ารูปนามเหล่านั้นสงบระงับดับเสียได้จากวัฏฏสงสาร เพราะถึงนิพพานเป็นสุขแท้
๖.ในสุชาตชาดกก็มี
หนอ ปรากฏอยู่ดังนิทานต่อไปนี้
มีเรื่องเล่าไว้ว่า
เมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร กุฏมพีคนหนึ่ง
บิดาตายเที่ยวบ่นเพ้อไปจนไม่สามารถจะบรรเทาความโศกเศร้าได้
พระศาสดาทอดพระเนครเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผล จึงเสด็จไปยังเรือนของเรา ประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาปูลาดไว้ ตรัสถามว่า อุบาสก ท่านเศร้าโศกเสียใจหรือ เขาทูลท่านว่า ถูกแล้วพระเจ้าข้า พระองค์ตรัสถามว่า คุณ!
โบราณบัณฑิตทั้งหลาย
ฟังถ้อยคำของบัณฑิตแล้ว
เมื่อบิดาตายไม่พากันเศร้าโศกเลย
กุฏมพีนั้นจึงทูลอาราธนาให้ทรงเล่าอดีตนิทานให้ฟัง พระองค์ทรงเล่าว่า
ในอดีต พระโพธิสัตว์บังเกิดในเรือนของกุฏมพี มีนามว่า สุชาตกุมาร เมื่อสุชาตกุมารเจริญวัย ปู่ได้ตายลงไป นับตั้งแต่ปู่ตายไปแล้ว บิดาของสุชาตกุมารมีแต่ความเศร้าโศก ก่อสถูปขึ้นในสวนของตน นำอัฐิมาบรรจุไว้
เดินร้องไห้บ่นเพ้อพิไรรำพันเวียนรอบเจดีย์ ไม่อาบน้ำ ไม่แต่งกาย ไม่บริโภคอาหาร ทั้งไม่ทำการงานเลย
สุชาตกุมารผู้เป็นลูกชายเห็นพ่อเป็นเช่นนั้น จึงคิดหาอุบายแก้ไขด้วยสติปัญญาของตน
คือเมื่อพบโคตายตัวหนึ่งนอกบ้านไปนำหญ้าน้ำมาวางไว้ข้างหน้าร่างโคตายนั้นกล่าวว่า ท่านจงเคี้ยวกินจงดื่มน้ำเสีย ประชาชนเห็นเขาจึงถามว่า สุชาตท่านเป็นบ้าไปหรือ
ทำไมจึงเอาหญ้าน้ำไปให้โคที่ตายแล้วเล่า?
สุชาตกุมารไม่พูดโต้ตอบแต่ประการใดเลย ประชาชนจึงไปบอกบิดาของเขาว่า บุตรของท่านวิกลจริตคือเป็นบ้าเสียแล้ว พอได้ยินคำพูดเช่นนั้นความเศร้าโศกสุดชีดของกุฏมพีก็หายไป
ความเศร้าโศกเพราะบุตรปรากฏขึ้นแทนที่ เขาจึงรีบมาถามว่า สุชาตลูกรัก เจ้าเป็นคนฉลาดมิใช่หรือ
เหตุไฉนจึงให้หญ้าและน้ำแก่โคที่ตายแล้ว
โคที่ตายแล้วจะพึงเป็นมาด้วยหญ้าและน้ำก็หาไม่ บุคคลที่มีปัญญาทรามจะพึงบ่นเพ้ออยู่ฉันใด เจ้าก็บ่นเพ้อเปล่าไร้สาระเช่นนั้น สุชาตกุมารจึงได้กล่าวตอบว่า ศีรษะ เท้าหน้า เท้าหลัง หาง
หูของโคก็ยังมีอยู่
ลูกพึงเข้าใจว่าโคตัวนี้คงฟื้นขึ้นมาได้
ส่วนศีรษะเมือเท้าของปู่มิได้ปรากฏอยู่เลย แต่ถึงอย่างนั้น
คุณพ่อก็ยังไปร้องไห้อยู่ที่พื้นดินทุกวัน
จัดว่าคุณพ่อเป็นคนทรามปัญญาตั้งร้อยเท่าพันทวีมิใช่หรือ ธรรมดาว่า สังขารคือรูปนามทั้งหลาย ล้วนมีความแตกดับไปเป็นธรรมดา เกิดแล้วก็ต้องตายไปอย่างนี้
การร้องไห้ร่ำไรรำพันบ่นเพ้อถึงผู้ที่ตายไปแล้วนั้นไม่มีสาระประโยชน์อะไรเลย
บิดาได้ฟังคำพูดของลูกมีคติเช่นนั้น จึงคิดว่าลูกของเราเป็นคนฉลาด
รู้สิ่งที่ควรทำทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เราสำนึกตัวได้ดีแล้ว จึงพูดว่า พ่อสุชาตบัณฑิตลูกรัก ข้อที่ว่า
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยงแท้
พ่อทราบดีแล้ว
นับแต่วันนี้ไปพ่อจักไม่เศร้าโศกเลย
ลูกได้ถอนความเศร้าโศกของพ่อแล้ว
เมื่อจะชมเชยลูกจึงได้กล่าวว่า
อาทิตตํ วต
มํ สนตํ ฆตสิตฺตํว ปาวทํ
วารินา วิย
โอลิญฺจํ สพฺพํ นิพฺพาปเย ทรํ
เจ้ามารดาเราผู้ถูกไฟ
๑๑ กองติดทั่วแล้วหนอ
ให้สงบระงับดับลงไปได้
ยังความกระวนกระวายใจทั้งปวงให้เย็นได้ เหมือนกันกับบุคคลที่ดับไฟที่ร้อนระอุให้เย็นลงได้ด้วยน้ำ
ฉะนั้น
ครั้นพระพุทธองค์ทรงเล่านิทานจบลงแล้ว
ทรงแสดงอริยสัจจธรมในที่สุดแห่งอริยสัจจกถา กุฏมพีก็ต้องใจอยู่ในโสดาปัตติผล ทรงประชุมชาดกว่า สุชาตกุมารในครั้งนั้นก็คือเราตถาคตนี้เอง
๗.ในอหิคุณฑิกชาดก ได้กล่าวหนอไว้เช่นกัน มีใจความย่อว่าดังนี้
เมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร ปรารภภิกษุแก่รูปหนึ่งคือ ภิกษุนั้นบวชเด็กคนหนึ่งเป็นสามเณร แล้วด่าเฆี่ยนตี สามเณรหนีไปสึก ภิกษุแก่ไปอ้อนวอนให้มาบวชอีก เฆี่ยนตีอีก สามเณรหนีไปสึกอีกเป็นครั้งที่สอง ถึงพระแก่นั้นจะไปพูดอ้อนวอนสักเท่าไร ก็ไม่ปรารถนาจะแลดูเลย
ภิกษุทั้งหลายจึงสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ท่านทั้งหลาย ภิกษุแก่องค์โน้นไม่สามารถจะเอาเด็กนั้นมาบวชได้อีก ถึงเขาจะเป็นเด็กก็เป็นคนดี พระศาสดาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้เธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย
มิใช่แต่ชาตินี้เท่านั้น
แม้ในชาติปางก่อน
สามเณรนี้ก็เป็นคนดีเหมือนกัน
เห็นโทษครั้งเดียวแล้วก็ไม่ปรารถนาจะแลดูอีกเลย และนำอดีตนิทานมาเล่าว่า เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติในเมืองพาราณสี
พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพ่อค้าขายข้าวเปลือก ได้เลี้ยงชีวิตด้วยการขายข้าวเปลือก หมองูคนหนึ่งจับลิงมาฝึกให้เล่นกับงู
ได้ฝากลึงไว้ในสำนักของพ่อค้าข้าวเปลือก เที่ยวเล่นมหรสพอยู่ในเมืองสาวัตถีตลอด ๗
วัน
พ่อค้าได้ให้ของเคี้ยวของบริโภคแก่ลิงนั้นทุกวัน หมองูเลิกเล่นมหรสพแล้วกลับมา เอาเรียวไม้ไผ่นั้นตีลิง ๓ ที แล้วพาไปสู่สวนแล้วผูกไว้นอนหลับไป ลิงปลดเชือกผูกออก ขึ้นต้นมะม่วงนั่งกินผลมะม่วงอยู่ หมองูตื่นขึ้นเห็นลิงอยู่บนต้นมะม่วง คิดว่าเราควรจะประโลมล่อจับมัน จึงกล่าวว่า สหายหน้างามเอ๋ย
เราเป็นนักเลงเล่นสะกาแพ้เพราะลูกขาด
เจ้าจงให้ผลมะม่วงหล่นลงเถิด
เราจะได้บริโภคเพราะความเพียรของเจ้า
ลิงได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า
อลิกํ วต
มํ สมฺม อภูเตน ปสํสสิ โกเต สุโตวา ทิฏฺโฐวา สุมุโขนาม มคฺกโฏ สหายเอ๋ย
ท่านสรรเสริญเราด้วยคำเท็จไม่จริงหนอ
ขึ้นชื่อว่าลิงมีหน้างาม
ท่านเคยได้ยินเคยได้ฟังหรือเคยได้เห็นที่ไหน ท่านหมองู สิ่งไรท่านทำกะเรา
แม้วันนี้สิ่งนั้นก็ยังปรากฏในใจเราอยู่
ท่านไปสู่ร้านข้าวเปลือกเมาสุรามาแล้ว เฆี่ยนตีเรา ผู้กำลังหิวถึง ๓ ที เราระลึกถึงการนอนเป็นทุกข์นั้นได้ ถึงท่านจะให้เราเสวยราชสมบัติ ท่านอ้อนวอนขอผลมะม่วงกับเรา เราจะไม่ให้ท่านเลย เพราะเราถูกภัยจากท่านคุกคามแล้ว บุคคลมีปัญญารู้จักกับบุคคลใด
ซึ่งไม่เป็นผู้ตระหนี่ควรจะผูกไมตรีเป็นมิตรสหายกับบุคคลนั้น
เมื่อลิงกล่าวอย่างนั้นแล้ว ก็เข้าสู่ป่าทึบโดยเร็วพลัน พระศาสดาทรงประชุมชาดกว่า
หมองูในครั้งนั้นได้กลับชาติมาเป็นพระเถรแก่ ลิงได้กลับชาติมาเป็นสามเณร
พ่อค้าข้าวเปลือกได้กลับชาติมาเป็นเราตถาคตดังนี้ นิทานเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า วต
แปลว่าหนอได้มีมานานแล้ว
ดังเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์
๘.ในนิคโปตถชาดกก็มี วต ซึ่งแปลว่า หนอ ปรากฏอยู่ดังใจความย่อว่า
ภิกษุแก่รูปหนึ่งให้ทารกบวชเป็นสามเณร
สามเณรนั้นตั้งใจอุฏฐากรับใช้สอยด้วยความเคารพเป็นอย่างดี ต่อมาสามเณรถูกโรคเบียดเบียนได้มรณภาพไป
ภิกษุแก่ถูกความเศร้าโศกครอบงำเที่ยวปริเทวนาการอยู่ต้องเสียงอันดัง พวกภิกษุจึงสนทนากันในโรงทานว่า ท่านทั้งหลายภิกษุองค์นั้น เมื่อสามเณรมรณภาพไป ได้เที่ยวเศร้าโศกปริเทวนาการ คงจะไม่ได้เจริญมรณสติกรรมฐาน พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร
เมื่อทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในชาตินี้เท่านั้น แม้ในชาติก่อน เมื่อสามเณรนั้นมรณภาพแล้ว เธอก็เที่ยวปริเทวนาการอยู่ ทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้
เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติในพระนครพาราณสี
พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นท้าวสักกะเทวราช ชาวกาลิกรัฐผู้หนึ่งเข้าไปหิมวันต์ประเทศ บวชเป็นฤๅษียังอัตภาพให้เป็นไปด้วยผลไม้น้อยใหญ่ อยู่มาวันหนึ่งพระฤๅษีผู้นั้น ได้เห็นลูกเนื้อตัวหนึ่ง แม่ตายที่ในป่า จึงนำมาเลี้ยงไว้ในอาศรม เมื่อเจริญเติบโตขึ้นมา มีรูปร่างสวยงามน่ารัก มหาดาบสทำการเลี้ยงดูลูกเนื้อดุจลูกของตน
วันหนึ่งลูกเนื้อนั้นบริโภคหญ้าเกินประมาณ อาหารไม่ย่อย จึงทำการกิริยาตายไป
ดาบสเที่ยวปริเทวนาการรำพันเพ้อว่าบุตรของเราตายแล้ว ท้าวสักกะเทวราชสอดส่องดูสัตว์โลกได้เห็นดาบสนั้น
สังเวชสลดใจจึงเสด็จมาประทับยืนบนอาศรม ตรัสว่า
ท่านตามเศร้าโศกถึงผู้ใดซึ่งละโกไปแล้วนั้น
การตามเศร้าโศกถึงผู้นั้นไม่เหมาะสำหรับท่านผู้เป็นสมณะละเรือนมาบวชเป็นบรรพชิต ดาบสได้สดับถ้อยคำนั้นแล้ว จึงได้กล่าวว่า ดูก่อนท้าวสักกะความรักของมนุษย์ก็ดี ของเนื้อก็ดี เกิดในดวงใจ เพราะอยู่ร่วมกันมา ข้าพเจ้าไม่อาจที่จะไม่เศร้าโศกดังมนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉานนั้นได้
ท้าวสักกะเทวราชได้ตรัสว่า
บุคคลเหล่าใดร้องไห้อยู่ก็ดี
บ่นเพ้ออยู่ก็ดี
ถึงบุคคลที่ตายไปแล้ว
และผู้ที่จะตายในบัดนี้
สัตบุรุษกล่าวการร้องไห้นั้นเปล่าประโยชน์ ดูก่อนท่านผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพรหม หากว่าบุคคลผู้ตายไปแล้วละไปแล้ว
จะพึงเป็นขึ้นมาได้
เพราะการร้องไห้หาญาติทั้งหลายที่ตายไปแล้วเพื่อให้คืนมา แต่เพราะญาติเหล่านั้นไม่คืนมา เพราะการร้องไห้เป็นแน่นอน ดังนั้นการร้องไห้จึงเป็นโมฆะเปล่าประโยชน์
เมื่อท้าวสักกะกล่าวซ้ำอยู่อย่างนี้ มหาดาบสกำหนดได้ว่า การร้องไห้ไร้ประโยชน์
เมื่อจะทำการชมเชยท้าวสักกะเทวราชได้กล่าวคาถาว่า
อทิตตํ วต
มํ สนฺตํ ฆตสิตฺตํ ว
ปาวกํ วารินา วิย โอสิญฺจงฺ สพฺพํ นิพฺพาปเย กลํ
พระองค์เอาน้ำคือพระธรรม
มารดอาตมาผู้เล่าร้อนให้สงบระงับความกระวนกระวายทั้งปวงแล้วหนอ
เป็นเหมือนกันกับบุคคลเอาน้ำมารดไฟที่ติดเปรียบให้ดับ ฉะนั้นความโศกใดเสียดแทงหทัยอาตมา
พระองค์ทรงถอนลูกศรคือความโศกนั้นออกให้แล้ว
พระองค์ได้บรรเทาความเศร้าโศกเพราะบุตรของอาตมาได้แล้ว ดูกรท้าวสักกะอาตมาผู้ถอนลูกศร
คือความโศกได้แล้วปราศจากความเศร้าโศก
ไม่ขุ่นมัวไม่ร้องไห้เพราะได้ฟังถ้อยคำของพระองค์
ครั้นพระบรมศาสดา นำพระเทศนานี้มาแสดงจบลงแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
พระดาบสในครั้งนั้นได้มาเป็นภิกษุแก่
เนื้อได้มาเป็นสามเณร
ท้าวสักกะเทวราชได้มาเป็นเราตถาคต นี้แลฯ
๙.ในธรรมมัทธชชาดกก็มี วต ซึ่งแปลว่า หนอ ปรากฏอยู่ดังมีใจความย่อว่า
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่เชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุโกหกรูปหนึ่ง ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนี้จะเป็นผู้โกหกแต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้เมื่อก่อนเธอก็ได้เป็นผู้โกหกมาแล้วเหมือนกัน ทรงนำอดีตนิทานมาตรัสเล่าดังต่อไปนี้ว่า
ในอดีตกาล
พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกแวดล้อมด้วยฝูงนก อาศัยอยู่เกาะกลางมหาสมุทร
ครั้งนั้นพ่อค้าชาวเมืองกลิกรัฐพวกหนึ่งจับกาได้ตัวหนึ่ง แล่นเรือไปในมหาสมุทร เรือได้อัปปางท่ามกลางมหาสมุทร
กาตัวนั้นได้บินไปยังเกาะนั้นแล้วคิดว่า
เกาะนี้มีฝูงนกมากจำเราจะต้องอาศัยการโกหกแล้วจิกกินไข่และลูกนกเป็นสบายแน่ๆ การนั้นจึงบินลงท่ามกลางฝูงนกแล้วอ้าปากยืนขาเดียวบนแผ่นดิน นกทั้งหลายจึงถามว่า นายท่านชื่ออะไร กาตอบว่าเราชื่อทัมมิกะ นกถามว่า ทำไมท่านจึงยืนขาเดียวเล่า กาตอบว่า
ถ้าเราเหยียบลงทั้งสองเท้าแผ่นดินก็ไม่อาจจะทรงไว้ได้ นกถามว่า ทำไมท่านจึงอ้าปากด้วยเล่า กาตอบว่า เราไม่กินอาหารอย่างอื่น กินแต่ลมอย่างเดียว
ครั้นการพูดดังนี้แล้วจึงเรียกนกทั้งหลายมากล่าวว่า เราจะให้โอวาทแก่พวกท่าน พวกท่านจงฟังให้ดีแล้วกล่าวว่า
ธมฺมํ จรถ
ญาตโย ธมฺมํ จรถ
ภทฺทํโว ธรรมจารี สุขํ เสต
อสฺมิ โลเก ปรมฺหิจ
ท่านทั้งหลายผู้เป็นญาติ จงประพฤติธรรมสม่ำเสมอเถิด
ความเจริญจะมีแก่ท่านทั้งหลายผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
ความในคาถานั้นว่า
ท่านผู้เป็นญาติทั้งหลายจงประพฤติธรรมมีกายสุจริต เป็นต้น
ท่านทั้งหลายประพฤติครั้งเดียวแล้วอย่าท้อถอย อย่าหยุดอยู่ จงประพฤติเสมอๆ ทีเดียว ด้วยเหตุอย่างนี้
ความเจริญจะมีแก่ท่านทั้งหลายเป็นแน่นอน
ผู้ประพฤติธรรมจะยืนเดินนั่งนอนก็เป็นสุขอย่างยิ่ง คือมีความสุขในทุกอิริยาบถ นกทั้งหลายมิได้รู้ว่า
การพูดอย่างนี้หวังจิกกินไข่เมื่อจะสรรเสริญกาทุศีลนั้นจึงกล่าวว่า
กานี้ดีจริงหนอ ประพฤติธรรมได้อย่างยอดเยี่ยม ยืนเท้าเดียวแสดงธรรมแก่พวกเรา เมื่อนกทั้งหลายพากันเชื่อกาทุศีลตัวนั้น แล้วกล่าวกับกานั้นว่า ข้าแต่นาย
ในว่าท่านไม่บริโภคอาหารอย่างอื่นบริโภคแต่ลมอย่างเดียว
ถ้ากระนั้นขอโปรดดูแลไข่และลูกน้อยของพวกข้าพเจ้าด้วย แล้วจึงพากันไปหาอาหาร ขณะเมื่อนกทั้งหลายไปแล้ว กาตัวนั้นจึงจิกกินไข่และลูกนกจนอิ่ม เมื่อนกกลับมาก็ทำเป็นสงบเสงี่ยม อ้าปากยืนเท้าเดียวอยู่
นกทั้งหลายกลับมาไม่เห็นลูกน้อยก็ส่งเสียงร้องแจ้งว่าใครหนอกินลูกเรา มิได้สงสัยกานั้นเลยแม้แต่น้อย เพราะเชื่อว่าการนี้ประพฤติธรรม
วันหนึ่งพระมหาสัตว์ดำริว่า เมื่อก่อนในที่นี้ไม่มีอันตรายอะไรๆ
เลย
ตั้งแต่กาตัวนี้มาอยู่ก็เกิดอันตรายบ่อยๆ เราจะต้องคอยจับให้จงได้
พระมหาสัตว์ทำเป็นเหมือนบินไปหาอาหารกินกับนกอื่นๆ
แล้วกลับมายืนแอบอยู่ในที่กำบังฝ่ายกาเห็นว่านกไปหมดแล้วก็ไม่สงสัย จึงลุกขึ้นไปจิกกินไข่และลูกนก เสร็จแล้วกลับมาอ้าปากยืนเท้าเดียวอยู่ตามเดิม
เมื่อนกทั้งหลายกลับมาพญานกก็เรียกประชุมนกทั้งหมด แล้วกล่าวว่า
วันนี้เราคอยจับผู้ทำการอันตรายแก่ลูกน้อยของพวกเราได้เห็นกาตัวนี้กำลังจิกกินอยู่ พวกท่านจงมาช่วยจับกาตัวนี้ให้ได้ แล้วเรียกฝูงนกมาล้อมกาตัวนั้นไว้ ถ้าหากกาหนีจงช่วยกันจับให้ได้ แล้วได้กล่าวว่า
นาสฺส สีลํ วิชานาถ อานฺาย ปสํสถ ภุตฺวา อณฺตาจ ฉาเปจ ธมฺโมธมฺโมติ ภาสติ
พวกท่านไม่รู้จักศีลของกานั้น
จึงพากันสรรเสริญกานั้นเพราะความไม่รู้ กาจิกกินไข่และลูกนกแล้วยังพูดว่า
เป็นผู้มีธรรม เป็นผู้มีธรรม ดังนี้
กาย่อมพูดคำอื่นอ้างวาจา ย่อมทำกรรมอื่นด้วยกาย
อันที่จริงกานี้พูดแต่ปากส่วนกายไม่ปฏิบัติตาม เพราะฉะนั้นจึงเป็นสัตว์ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
การพูดอ่อนหวานแต่ใจรู้ได้ยากเหมือนงูเห่าปกปิดร่างด้วยปล่องนอนอยู่ในปล่องฉะนั้น หรือเหมือนคนทุศีลเอาธรรมบังหน้า คนโง่ไม่รู้จึงพากันยกย่องว่าเป็นคนดีในหมู่บ้านในนิคมฉะนั้น
ท่านทั้งหลายจงช่วยกันประหารกาตัวนี้ให้พินาศไป กาตัวนี้ไม่สมควรอยู่ร่วมกับพวกเรา
ครั้นพญานกกล่าวอย่างนี้แล้ว ตัวเองโผลงไปจิกหัวกาตัวนั้น บันดานนกตัวอื่นๆ
ก็ประหารด้วยจะงอยปากเล็บเท้าและปีก
กาตัวนั้นได้ถึงแก่กรรมความตายในที่นั้นเอง
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ตรัสจบแล้วทรงประชุมชาดกว่า กาโกหกครั้งนั้นได้กลับชาติมาเกิดเป็นภิกษุโกหกครั้งนี้
ส่วนพญานกครั้งนั้นได้กลับชาติมาเกิดเป็นเราตถาคต นี้แลฯ
นิทานเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า
วต ซึ่งแปลว่า หนอ นั้นมีมานานแล้ว
๑๐.ในวิฆาสาทชาดก คำว่า หนอ ซึ่งแปลว่า หนอ ดังมีเรื่องเล่าไว้ว่า
เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ที่บุพภารามพระโมคคัลลาเถร
แสดงยมกปาฏิหาริย์ทำประสาทให้หวั่นไหว ยังภิกษุคะนองให้เกิดสังเวช
ภิกษุทั้งหลายจึงประชุมกันกล่าวโทษของภิกษุพวกนั้นในโรงธรรม พระศาสดาเสด็จมาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นจะเล่นคะนองแต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในการก่อนก็เคยเล่นคะนองมาแล้วทรงเล่าอดีตนิทานว่า
ในอดีตกาล ในบ้านกาลิกคามตำบลหนึ่ง มีพี่น้องสองคน
เห็นโทษในกามคุณออกบวชเป็นฤๅษีอยู่ในกลางป่าไม่ประกอบความเพียร มีความเกียจคร้านมาก เที่ยวเล่นกีฬาต่างๆ ท้าวสักกะเทวราชดำริว่า เราะจะทำฤๅเหล่านี้ให้สังเวช จึงทรงแปลงเพศเป็นนกแก้วเสด็จมายังที่อาศัยของฤๅษีเหล่านั้นกล่าวว่า สุสุขํ วต
ชีวนฺติ เยชนา วิคาสาทิโน ทิฏเฐ วธมฺเม ปาสํสา สมฺปลาเยว สุคตึ ชนเหล่าใดที่บริโภคของอันเป็นเดน ชนเหล่านั้นสบายดีหนอ ย่อมได้รับความสรรเสริญในโลกนี้ ย่อมถึงสุคติในชาตหน้าดังนี้
พี่น้อง
๗ คน ได้เป็นภิกษุคะนองในบัดนี้ ส่วนท้าวสักกะเทวราชก็คือเราตถาคต นี้แลฯ
๑๑.ในมณิชาดก คำว่า วต ซึ่งแปลว่า หนอ ก็มีปรากฏอยู่ดังนี้คือ
จิรสฺสํ วต
ปสฺสามิ สหายํ มณิธารินํ สุกตาย มสฺสุ กุตฺติยา โสภเต วต
เมสขา
เป็นเวลานานแล้วหนอ เราเพิ่งเห็นสหายของเราประดับแก้วมณีที่คอ หายของเรา แต่งหนวดเสียเรียบร้อยดี.
² ² ² ² ²