วัดอัมพวัน สิงห์บุรี เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ดังมีหลักฐานจากศิลาจารึก ตู้พระไตรปิฎก และหลักฐานอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งท่านสามารถหาอ่านได้ในหนังสือกฎแห่งกรรม - ธรรมปฏิบัติ ในปัจจุบันวัดอัมพวัน โดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ได้เปิดสำนักฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ขององค์พระศาสดาสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อสอนให้แก่ผู้ใคร่ฝึกปฏิบัติธรรม ได้รับความรู้ที่ถูกต้องในการปฏิบัติ ตลอดจนอบรมธรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นในที่สุด
 

 

ประวัติ วัดอัมพวัน
อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี

ตำแหน่งที่ตั้งวัดอัมพวัน

        เลขที่ ๕๓ บ้าน ถนนเอเชีย กิโลเมตรที่ ๑๓๐ หมู่ที่ ๔ ตำบลสงฆ์บ้านแป้ง ตำบลบ้านเมืองพรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี

ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์

ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๓๑ ไร่ ๒ งาน ๘๐ ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินคือ โฉนดที่ ๘๘๗๗ เลขที่ ๒๒๓ มีอาณาเขตดังนี้

ทิศเหนือ ยาว ๓๘๐ เมตร จดที่ดินเลขที่ ๑๔๗ ทางสาธารณประโยชน์
ทิศใต้ ยาว ๒๕๙ เมตร จดที่ดินเลขที่ ๑๔๕ ที่มีการครอบครองสาธารณประโยชน์
ทิศตะวันออก ยาว ๑๘๕ เมตร จดทางสาธารณประโยชน์
ทิศตะวันตก ยาว ๑๙๒ เมตร จดที่ดินเลขที่ ๑๔๗ ทางสาธารณประโยชน์

ที่ธรณีสงฆ์มี ๓ แปลง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น ๓๐ ไร่ ๔ งาน ๑๒๖ ตารางวา

แปลงที่ ๑ ที่ตำบลพรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี มีเนื้อที่จำนวน ๑๔ ไร่ ๑๒ ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ คือ โฉนดเลขที่ ๔๙๐๗ นายพุก นางจุ่น โพธิ์ศรี ถวายเป็นที่ธรณีสงฆ์ เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๗

แปลงที่ ๒ ที่ตำบลหัวป่า อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี มีเนื้อที่จำนวน ๑๑ ไร่ ๓ งาน ๑๒ ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ คือ โฉนดเลขที่ ๔๓๙๐ พันเอกสมภพ ศริพันธุ์, นางโสภิต วรากลาง, นางเพ็ญศรี บุรีรัตน์-นางสาวดวงรัตน์ ศริพันธุ์ ถวายเป็นที่ธรณีสงฆ์ เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ตามบัตรอนุโมทนาของเลขาธิการมหาเถรสมาคม

แปลงที่ ๓ ที่ตำบลพรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี มีเนื้อที่จำนวน ๕ ไร่ ๑ งาน ๓๔ ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ คือ โฉนดเลขที่ ๔๙๐๑ พันเอกสมภพ ศริพันธุ์, นางโสภิต วรากลาง, นางเพ็ญศรี บุรีรัตน์-นางสาวดวงรัตน์ ศริพันธุ์ ถวายเป็นที่ธรณีสงฆ์ เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๓
 

ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของบริเวณที่ตั้งวัด

        วัดอัมพวัน เป็นวัดที่อยู่อย่างราบเรียบ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออก สภาพของต้นไม้ทั่วไปนั้น ปลูกไม้ดอก - ไม้ใบ สภาพปลูกใหม่ สภาพพื้นที่เป็นที่น้ำท่วม มาบัดนี้ทางวัดได้ทำถนน - คูกั้นน้ำ การป้องกันน้ำไว้ได้ การปลูกสร้างต้นไม้จึงเกิดใหม่ ต้นไม้ประมาณ ๓๐๐ เศษ

หลักฐานการตั้งวัด

        จากการสำรวจทางราชการประมาณกาลตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๗๕ การสร้างอุโบสถ ผูกพัทธสีมา มาแล้ว ๒ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อรัชกาลที่ ๓ ครั้งที่ ๒ นี้ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๗๐ เมตร และได้ผูกพัทธสีมา วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๓

ประวัติความเป็นมาของวัด

        วัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นชื่อเดิมมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา

  • อุโบสถหลังเก่าได้ชำรุดและพังลง เมื่อวันอังคารที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๑ ตรงกับวันแรม ๗ ค่ำเดือน ๓ ปีจอ เวลา ๐๙.๔๕ น.

  • ได้รื้อถอนเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๑ ตรงกับแรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๒ เวลา ๑๐.๐๐ น. ด้วยแรงชาวบ้านและรถยกของ ป.พัน ๑๐๑ มาช่วยกันรื้ออุโบสถ เสร็จเรียบร้อยภายใน ๔ วัน

  • เริ่มก่อสร้างอุโบสถ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๑ วางศิลาฤกษ์ ๑๔-๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๒ สร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ รวมเวลาการก่อสร้าง ๑ ปี ๔ เดือน ๑๕ วัน

  • ผูกพัทธสีมาวันที่ ๘-๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๓

        ศิลาจารึกในอุโบสถหลังเก่าจารึกเป็นภาษาจีนว่าคนจีนได้สร้างอุโบสถวัดอัมพวัน สมัยเหม็งเชี้ยว คนจีนได้นำเรือกำปั่นมาทำการค้าขายกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองลพบุรี มากับฝรั่งชาติฮอลันดา จอดหน้าวัดอัมพวัน ได้สร้างโบสถ์วัดอัมพวัน สมัยเจ้าอาวาสวัดอัมพวันชื่อ พระครูญาณสังวร อายุ ๙๙ ปี สร้างโบสถ์เสร็จแล้ว ฝรั่งเพื่อนคนจีนได้ขอพระราชทาน พระหน้าปรกหินทั้งสององค์จากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้คนจีนเอาไว้ในโบสถ์ จนถึงการสร้างโบสถ์หลังใหม่มาจนถึงทุกวันนี้

        วัดนี้เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ ตามลำดับ มาถึง พ.ศ. ๒๕๑๓ กรมการศาสนาได้ยกย่องให้เกียรติ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างมาจนบัดนี้

ปูชนียวัตถุ - โบราณวัตถุ

        มีพระพุทธรูปหน้าปรกหิน ๓ องค์ สมัยลพบุรี แบบหูยาน ๒ องค์ แบบเขมรคางคนหูตุ้ม ๑ องค์ มีพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนสมาธิเพชร เกตุดอกบัวตูม ๑ องค์ หน้าตัก ๑ ศอก ตู้พระธรรมสร้าง พ.ศ.๒๒๐๐ จำนวน ๑ ตู้ ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ ๑ ตู้ พ.ศ.๒๓๑๐

        ในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ทำการซ่อมอุโบสถที่ชำรุดทรุดโทรมเสร็จแล้ว ได้ขอผูกพัทธสีมาใหม่โดยทำเป็นการภายในของการคณะสงฆ์ เพราะเขตที่ขอพระราชทานมีอยู่เดิมแล้ว และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ได้พระราชทานเรือยาว ให้กับวัดอัมพวันไว้ ๑ ลำ ชื่อว่า “ก้านตอง” บรรทุกคนได้ ๕๐ คน

        ในสมัย ท่านพระครูเทศ เป็นเจ้าอาวาสอยู่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชสมบัติ จึงได้พระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ จำนวน ๑ ภาพ พร้อมด้วยโต๊ะหมู่บูชา จำนวน ๑ ชุด ไว้กับวัดอัมพวัน

เสนาสนะและสิ่งปลูกสร้าง

        ๑. อุโบสถ กว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๒๗ เมตร สร้างเสร็จ พ.ศ.๒๕๑๓ ลักษณะทั่วไปอุโบสถสร้างใหม่แบบทรงไทยโบราณ สีมาติดฝาผนังโบสถ์ บรรจุคนได้ ๓๐๐ คน อุโบสถหลังเก่าชำรุด เพราะสมัยกรุงศรีอยุธยา
        ๒. ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๔.๕๐ เมตร ยาว ๓๓ เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ ลักษณะทั่วไป ทรงไทยธรรมดาเหมือนศาลาการเปรียญทั่วไป มีช่อฟ้าหน้าบรรณ
        ๓. หอสวดมนต์ กว้าง ๑๑.๗๕ เมตร ยาว ๒๐.๒๕ เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ ลักษณะทั่วไป ทรงไทยสองชั้น - ชั้นบนไว้สวดมนต์ บำเพ็ญกุศล - เป็นที่ภิกษุ,สามเณรฉันภัตตาหาร ชั้นล่างเป็นโรงเรียนปริยัติธรรม
        ๔. กุฏิจำนวน ๕ หลัง คือ

  • หลังที่ ๑ กว้าง ๑๒.๕๐ เมตร ยาว ๑๒.๕๐ เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๔๙ ๗ ลักษณะทั่วไป สองชั้น - กุฏิเจ้าอาวาส กองอำนวยการ ใช้รับแขก และบริการ และประชุมสงฆ์ในวัด

  • หลังที่ ๒ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙

  • หลังที่ ๓ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐

  • หลังที่ ๔ กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๐ เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๑

  • หลังที่ ๕ กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๐ เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒

กุฏิกรรมฐานมี ๒๑ หลัง ฝ่ายของสงฆ์

        กว้าง ๓ เมตร ยาว ๗.๗๕ เมตร

กุฏิกรรมฐาน ฝ่ายอุบาสก, อุบาสิกา ๑๔ หลัง

        กว้าง ๓ เมตร ยาว ๗.๗๕ เมตร

ศาลาบำเพ็ญกุศล

        กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๑ เมตร คุณนายสุมาลย์ ชโลธร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙

เมรุเผาศพ

        กว้าง ๓.๗๕ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕ และได้ดำเนินการก่อสร้างเสนาสนะ และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

พุทธศักราช ๒๕๒๕
  • สร้างหอประชุมภาวนา-กรศรีทิพา เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นเดียว กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร เป็นหอประชุมอบรมประชาชนทั่วประเทศ สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามล้านบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๒๗
  • สร้างต่อเติมอาคารเรียน ชั้นล่าง ๑ ชั้น เป็นที่พักนักศึกษาที่มา อบรม สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๑๒๕,๖๕๐ บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นห้าพันหกร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
  • สร้างห้องกรรมฐาน ๓๐ ห้อง พร้อมห้องน้ำห้องส้วม สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท (หกแสนบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๒๘
  • สร้างโรงสูบน้ำและอุปกรณ์ประปารอบวัด สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๒๔๐,๐๐๐ บาท (สองแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)
  • สร้างพระประธานเชียงแสนทรงเครื่อง หน้าตักกว้าง ๓๐ นิ้ว ประจำหอประชุมภาวนา-กรศรีทิพา สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๑๒๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน)
  • สร้างรูปหล่อพระบรมฉายาลักษณ์ พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ ประทับในท่ายืนประดิษฐาน ณ หอประชุมภาวนา-กรศรีทิพา สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๑๒๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาท)
    พุทธศักราช ๒๕๒๙ - สร้างห้องน้ำห้องส้วม ขนาดกว้าง ๑.๕๐ เมตร ยาว ๑.๕๐ เมตรต้อนรับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน ๘ ห้อง สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๑๖๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนหกหมื่นบาทถ้วน)
  • สร้างโรงเลี้ยงอาหารผู้เข้ารับการอบรม สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)
  • สร้างศาลาเอนกประสงค์ “ เสาวณีย์ โกศล กมล สีตลกาญจน์ ” ขนาดกว้าง ๙.๕ เมตร ยาว ๑๗.๕ เมตร เก้าอี้เหล็ก ๑๐๐ ตัว ราคา ๒๐๐,๐๐๐ บาท โต๊ะรับแขก ๖ ตัว สิ้นค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน ๒๓๐,๐๐๐ บาท (สองแสนสามหมื่นบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๓๐
  • สร้างกุฏิห้องกรรมฐาน ภาวนา-อ๋องคณา กว้าง ๓ วา ยาว ๗ วา ๒ ศอก คอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ชั้นบน ๕ ห้อง ชั้นล่าง ๓ ห้อง ห้องโถง ๑ ห้อง ๔ ห้องส้วม ด้านใน ๒ ห้อง ด้านนอก ๒ ห้อง ห้องเก็บของ ๑ ห้อง สิ้นค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน ๕๕๑,๓๙๐ บาท (ห้าแสนห้าหมื่นหนึ่งพันสามร้อยเก้าสิบบาท)
  • พระประธานปางอู่ทองสมาธิ ๑ องค์ ประจำกุฏิอ๋องคณาหน้าตัก ๒๙.๙๙ นิ้ว สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)
  • สร้างวิหารสมเด็จพระพุฒาจารย์โต กว้าง ๖ ศอก ยาว ๓ วา รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเป็นเงิน ๗๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดหมื่นบาทถ้วน)
  • สร้างรูปหล่อสมเด็จโต หล่อโลหะและปิดทองปางพรมน้ำมนต์ สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงิน ๖๐,๐๐๐ บาท (หกหมื่นบาทถ้วน)
  • สร้างศาลาทรงไทย หน้ากุฏิเจ้าอาวาส กว้าง ๑ วา ยาว ๘ ศอก ไว้เป็นที่ต้อนรับแขก สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๒๖,๕๔๐ บาท (สองหมื่นหกพันห้าร้อยสี่สิบบาทถ้วน)
  • สร้างกุฏิ ๒ ชั้น ตึกกว้าง ๓ วา ยาว ๓ วา ห้องน้ำ-ห้องส้วม ๓ ที่ ห้องเก็บของ ๑ ห้อง ห้องนอนชั้นบน-ชั้นล่าง ๑ ห้อง สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน)
  • สร้างพระพุทธรูปหล่อ ปางนาคปรก วัดอัมพวัน สิงห์บุรี ๑ องค์ สมเด็จพระสังฆราชถวายพระนามพระพุทธรูปปางนาคปรก “พระพุทธศรีสันติกรอรรคขจรบพิตร” สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)
  • เริ่มก่อสร้างกุฏิกรรมฐานในพื้นที่ ที่ได้ปรับปรุง โดยย้ายกุฏิเก่ามาไว้ และได้ทำการก่อสร้างกุฏิใหม่เพิ่ม รวม ๔๕ หลัง สร้างศาลาปฏิบัติธรรม ยาว ๑๒ เมตร กว้าง ๘ เมตร เจาะน้ำบาดาล สร้างถังเก็บน้ำคอนกรีต ทำกำแพงล้อมรอบบริเวณ สิ้นค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน ๓,๘๐๐,๐๐๐ บาท (สามล้านแปดแสนบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๓๑
  • สร้างกุฏิ บุญถิ่น อัตถากร รับรองพระเถระ ๓ ชั้นคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๓ วา ๒ ศอก ยาว ๓ วา ๒ ศอก สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๓๗๘,๒๕๐ บาท (สามแสนเจ็ดหมื่นแปดพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
  • สร้างศาลาท่าน้ำ “ศาลาสุนีย์ พันธศุภร” ความยาว ๓ วา ๙ นิ้ว กว้าง ๑ วา ๓ ศอก สะพานยาว ๖ วา ๘๕ ซม. กว้าง ๑ วา ๑๕ ซม. พนักพิงเหล็กทาสี สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๑๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๓๒
  • ซ่อมศาลาปฏิบัติธรรม ตีฝ้า ติดมุ้งลวด ขยายไปอีก ๑ ห้องปฏิบัติธรรมฝ่ายฆราวาส สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๖๓,๐๐๐ บาท (หกหมื่นสามพันบาทถ้วน)
  • ประปาคอนกรีต แบบอนามัย สูง ๕ ศอก เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ วา ด้านล่าง ๖ x ๖ ศอก แถวกุฏิกรรมฐาน สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน)
  • สร้างอาคาร “เนกขัมม์” เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น มี ๒๕ ห้อง เป็นอาคารแถว ๒ ชั้น ยาว ๒๘.๓๐ เมตร กว้าง ๘.๒๐ เมตร มีห้องน้ำ ๑๒ ห้อง ชั้นบนและชั้นล่างจัดสร้างเป็นห้องพักสำหรับผู้ที่มาฝึกปฏิบัติธรรม สิ้นค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน ๗๕๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
  • สร้างอาคาร “หอสมุดนุชประมูลวัดอัมพวัน” กว้าง ๑๔ ศอก ยาว ๖ วา เป็นคอนกรีต ๓ ชั้น ทรงไทย มีมุขหน้า สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท (หกแสนบาทถ้วน)
  • สร้างอาคาร “บุญยง-สาวิกา ว่องวานิช” เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น กว้าง ๔ วา ยาว ๘ วา มี ๑๒ ห้อง ห้องส้วม ๗ ห้อง สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท (หกแสนบาทถ้วน)
  • สร้างกุฏิกรรมฐาน ๒๐ หลัง ที่เขตสวนป่า สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๕๑๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนหนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
  • สร้างห้องน้ำ โรงเรียน ๖ ห้อง สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน)
  • สร้างห้องน้ำเขตกรรมฐาน ๘ ห้อง ขนาด กว้าง ๑.๕๐ เมตร ยาว ๑.๕๐ เมตร สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท (หน้าหมื่นบาทถ้วน)
  • สร้างแท่นพระสิวลี สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
  • สร้างกำแพงรั้วกรรมฐาน ยาว ๓๙๓ เมตร พร้อมทาสีรอบกำแพงคอนกรีต ประตูเหล็ก ๑ ช่อง สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๓๓
  • บูรณะปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญ ซึ่งทรุดโทรม โดยได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่ เป็นศาลาเอนกประสงค์ “ สุธรรมภาวนา ” ๒ ชั้น กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๕๐ เมตร ชั้นบน ใช้เป็นที่ปฏิบัติศาสนกิจบำเพ็ญกุศลและสามารถใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรม จุคนได้ ๑,๐๐๐ คน ส่วนชั้นล่างใช้เป็นที่พักของผู้มาปฏิบัติธรรม สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดล้านบาทถ้วน)
  • สร้างอาคาร “ธรรมนูญ” เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น กว้าง ๑๓.๕ เมตร ยาว ๒๐ เมตร ชั้นบนเป็นห้องพักรวม ๕ ห้อง ชั้นล่างเป็นห้องโถงกว้างใช้เป็นห้องปฏิบัติธรรมจุคนได้ ๔๐ คน สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๒,๔๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านสี่แสนบาท)
  • สร้างอาคาร “เรือนสุขจิตต์” เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๓ ชั้น กว้าง ๗.๕๐ เมตร ยาว ๗.๕๐ เมตร ใช้เป็นห้องพักรับรองสำหรับผู้ที่มาฝึกปฏิบัติธรรม สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน)
  • สร้างอาคาร “ปริปุณณะ” เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๑ เมตร ชั้นบนมี ๓ ห้อง ใช้เป็นห้องพักรับรองผู้ปฏิบัติธรรม สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๓๔
  • สร้างโรงเรียนฝึกหัดครูสอนบาลี “โรงเรียนพระปริยัติธรรม” สำหรับใช้อบรมพระคณาจารย์สอนบาลี ตั้งแต่เปรียญ ๓ - ๙ ประโยค เป็นอาคารทรงไทย มีมุขหน้า สูง ๔ ชั้น กว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๒๐ เมตร มีห้องน้ำ ๓๐ ห้อง สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท(สี่ล้านบาทถ้วน)
  • ปรับปรุงพัฒนาโรงครัวใหม่ โดยได้สั่งชุดเครื่องครัวสเตนเลสอันทันสมัย ประกอบด้วยเตาหุงข้าว และส่วนที่ใช้ในการปรุงอาหาร ซึ่งมีประสิทธิภาพในการคหกรรมสูง สามารถจัดเลี้ยงผู้มาปฏิบัติธรรมได้ครั้งละมาก ๆ การจัดซื้อและติดตั้งอุปกรณ์นี้ สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท (หกแสนบาทถ้วน)
  • ปรับปรุงพัฒนาการจัดเก็บขยะมูลฝอย และกำจัดเศษอาหาร โดยได้ติดตั้งเตาเผาขยะ ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งขยะสดและแห้งที่กำจัดได้ยาก โดยเตานี้ใช้หัวฉีดน้ำมันที่ให้อุณหภูมิในการเผาไหม้สูง สามารถกำจัดขยะมูลฝอยได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย นอกจากนี้ ยังช่วยรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากควันและกลิ่นได้อีกด้วย ในการนี้ได้สิ้นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเป็นเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน)
  • ปรับปรุงกุฏิเจ้าอาวาสที่ชำรุดทรุดโทรมลงไป โดยได้ก่อสร้างปรับปรุงตกแต่งใหม่ให้แข็งแรงและทันสมัย เป็นลักษณะอาคาร ๒ ชั้นแบบประยุกต์ กว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๒ เมตร หลังคาทรงหน้าจั่ว สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๒,๔๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านสี่แสนบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๓๕
  • สร้างศาลาริมทางด้านหน้าวัด ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๗ เมตร เพื่อให้เป็นที่พักสำหรับผู้สัญจรไปมา ใช้หลบแดดฝน หรือพักรอ รถประจำทาง สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน)
  • ขุดเจาะบ่อบาดาลสร้างถังเก็บน้ำเพิ่มเติม ในบริเวณสถานที่ปฏิบัติธรรม เพื่อให้มีน้ำพอเพียงต่อการใช้สอย โดยสร้างเป็นโครงเหล็ก มีถังเก็บน้ำพีวีซี จำนวน ๔ ใบ สามารถสูบน้ำขึ้นไปสำรองเก็บไว้ได้ ๔,๐๐๐ ลิตร สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๑๘๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)
  • สร้างอาคาร “ภาวนา” ขนาด กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๕ เมตร ๒ ชั้น จำนวน ๒ หลัง สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๓๖
  • สร้างห้องน้ำ-ห้องส้วมเพิ่มเติมอีก ๔๘ ห้อง ขนาด กว้าง ๑.๕๐ เมตร ยาว ๑.๕๐ เมตร ราคาห้องละ ๑๕,๐๐๐ บาท สิ้นค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน ๗๒๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดแสนสองหมื่นบาท)
  • สร้างอาคารห้องพักผู้อบรม เพิ่มเติม ๙ ห้อง ราคาค่าก่อสร้างห้องละ ๕๐,๐๐๐ บาท สิ้นค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน ๓๔๐,๐๐๐ บาท (สามแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)
  • ขยายตึกวิทยากร สร้างห้องเพิ่มเติม สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน)
  • สร้างอาคาร “ราชสุทธิ” เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๓๐ เมตร ชั้นบน ๑๐ ห้อง ชั้นล่าง ๑๐ ห้อง ใช้เป็นที่พักผู้ปฏิบัติธรรม สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านห้าแสนบาทถ้วน)
  • สร้างอาคาร “ญาณมงคล” เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๓๐ เมตร ชั้นบน ๑๐ ห้อง ชั้นล่าง ๑๐ ห้อง ใช้เป็นที่พักผู้ปฏิบัติธรรม สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านห้าแสนบาทถ้วน)
  • สร้างป้อมตำรวจหน้าวัด ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๖ เมตร สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
  • สร้างเรือนทรงไทย ใต้ถุนสูง ขนาดตัวเรือนกว้าง ๒.๕๐ เมตร ยาว ๓.๕๐ เมตร จำนวน ๔ หลัง ราคาหลังละ ๔๕๐,๐๐๐ บาท สิ้นค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน ๑,๘๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านแปดแสนบาทถ้วน)
  • สร้างอาคาร “สุธรรมจิตทวีบุญ” เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น กว้าง ๕ เมตร ยาว ๖ เมตร สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท (หกแสนบาทถ้วน)
  • สร้างอาคาร “ทองยิ่ง” เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น กว้าง ๖ เมตร ยาว ๘ เมตร สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน)
  • สร้างเรือน “ดารามาศ” เป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียว กว้าง ๔ เมตร ยาว ๕ เมตร สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
  • สร้างอาคารรับรองพระเถระผู้ใหญ่ เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น กว้าง ๗.๒๐ เมตร ยาว ๑๕.๕๐ เมตร ใช้สำหรับรับรองพระเถระผู้ใหญ่ สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านบาท)
  • สร้างอาคารอเนกประสงค์ เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น กว้าง ๖.๒๐ เมตร ยาว ๑๕.๕๐ เมตร สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านบาทถ้วน)
  • สร้างอาคาร “สุขจิตต์” เป็นอาคารคอนกรีต ๓ ชั้น กว้าง ๖ เมตร ยาว ๖ เมตร สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน)
  • เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มเติม สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๔๘๕,๓๓๘ บาท (สี่แสนแปดหมื่นห้าพันสามร้อยสามสิบแปดบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๓๗
  • ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อบำบัดน้ำเสียภายในวัด สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๓,๑๐๐,๐๐๐ บาท (สามล้านหนึ่งแสนบาทถ้วน)
  • สร้างศาลาปฏิบัติธรรม “เทพนิมิต” เป็นศาลาคอนกรีตชั้นเดียว ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๖ เมตร ใช้สำหรับปฏิบัติธรรม สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านสองแสนบาท)
  • สร้างอาคาร “วิสุทธิธรรม” เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๐ เมตร สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านสองแสนบาทถ้วน)
  • สร้างอาคาร”ตึกขาวญาณมงคล” เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น กว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๘ เมตร สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านสองแสนบาทถ้วน)
  • ถมดิน และติดตั้งเสาไฟฟ้า บริเวณเขตสวนป่าภาวนา และสร้างพระประธาน สิ้นค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน)
  • ติดตั้งเครื่องเสียงและเดินสายรอบวัด สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน)
  • สร้างอาคาร “ทองยิ่ง” เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น กว้าง ๕ เมตร ยาว ๙ เมตร สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๖๕๐,๐๐๐ บาท (หกแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
  • สร้างรั้วริมทางเดิน บริเวณหน้าวัด สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
  • สร้างแทงค์น้ำเขตสวนป่าภาวนา ขนาด ๔๐,๐๐๐ ลิตร สูง ๒๕ เมตร สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนบาทถ้วน)
  • สร้างอาคาร ”พายัพ-มุกดา อินทฉัตร” เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๑๘ เมตร ชั้นบนเป็นห้องพักผู้ปฏิบัติ จำนวน ๖ ห้อง ชั้นล่างเป็นห้องน้ำ จำนวน ๑๒ ห้อง สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๗๐๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดแสนบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๓๘
  • สร้างอาคารปฏิบัติธรรม “พล.ต.อ.ประเสริฐ - คุณหญิงน้อย รุจิรวงศ์” (ภาวนา ๑) เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ขนาดกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๔๓ เมตร สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๔,๕๑๐,๐๐๐ บาท (สี่ล้านห้าแสนหนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
  • จัดสร้างอาคารเอนกประสงค์หลังที่ ๓ สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๗๐๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดแสนบาทถ้วน)
  • ต่อเติมหอระฆัง สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน)
  • ติดตั้งแอร์ห้องควบคุมเครื่องเสียง สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๓๒,๐๐๐ บาท (สามหมื่นสองพันบาทถ้วน)
  • สร้างศาลานวกะ ปี ๒๕๓๘ ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๔.๕๐ เมตร สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท)
  • ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๓๔,๐๐๐ บาท (สามหมื่นสี่พันบาทถ้วน)
  • ติดตั้งอุปกรณ์สูบน้ำ สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๓๙
  • สร้างโรงเรียนวัดอัมพวัน สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๔,๓๐๐,๐๐๐ บาท (สี่ล้านสามแสนบาทถ้วน)
  • สร้างซุ้มประตูด้านติดแม่น้ำเจ้าพระยา สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๒๒๐,๐๐๐ บาท (สองแสนสองหมื่นบาทถ้วน)
  • ปูพรม ศาลาสุธรรมภาวนา สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๑,๒๒๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านสองแสนสองหมื่นบาทถ้วน)
  • ปูพรม หอประชุมภาวนา-กรศรีทิพา สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๒๖๐,๐๐๐ บาท (สองแสนหกหมื่นบาทถ้วน)
  • ต่อเติมศาลา “เสาวณีย์ โกศล กมล สีตลกาญจน์” โดยขยายออกไปอีก ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๗.๕ เมตร สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๒๕๐,๐๐๐ บาท (สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
  • สร้างศาลาเอนกประสงค์ สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๔๒๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนสองหมื่นบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๔๐
  • ซ่อมแซมศาลาปฏิสันถาร และปูพรมศาลาปฏิบัติธรรม เขตสวนป่า สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๑๑๐,๘๕๒ บาท (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นแปดร้อยห้าสิบสองบาท)
  • ปรับปรุงถนนทางเดินภายในวัด ในบริเวณน้ำท่วมขัง สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๖๐,๐๐๐ บาท (หกหมื่นบาทถ้วน)
  • ซ่อมแซมกุฎิเจ้าอาวาส และขยายขั้นบนเพิ่มอีก ๑ ห้อง สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนบาทถ้วน)
  • สร้างศาลา ประดิษฐานซุ้มช้างแก้ว ในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก มีขนาดกว้าง เมตร ยาว เมตร สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๗๐๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดแสนบาทถ้วน)
  • สร้างต่อเติมอาคารหอสมุด ขนาด กว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๐ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๒๓๗,๑๗๑ บาท (สองแสนสามหมื่นเจ็ดพันหนึ่งร้อยเจ็ดสิบเอ็ดบาทถ้วน)
  • ซ่อมแซมรั้ว และทาสีกุฏิท่าน้ำ สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๓๑,๘๕๐ บาท (สามหมื่นหนึ่งพันแปดร้อยห้าสิบบาท)
  • ซ่อมแซมห้องน้ำ-ห้องส้วม เปลี่ยนก๊อกน้ำ ฝักบัว ๓๒ ห้อง สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๑๖,๘๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นหกพันแปดร้อยบาท)

การบริหาร และการปกครอง

        ปัจจุบัน เจ้าอาวาสชื่อ “พระราชสุทธิญาณมงคล” อายุ ๗๑ พรรษา ๕๒ รายชื่อเจ้าอาวาสวัดอัมพวันเท่าที่มีหลักฐาน ดังนี้ :-
        รูปที่ ๑ พระครูพรหมนครบวรราชมุนี พ.ศ.๒๓๘๒ ถึง พ.ศ.๒๓๙ ๗
        รูปที่ ๒ พระครูปาน พ.ศ.๒๓๙๘ ถึง พ.ศ.๒๔๑๒
        รูปที่ ๓ พระอธิการเทศ พ.ศ.๒๔๑๒ ถึง พ.ศ.๒๔๒๗
        รูปที่ ๔ พระอธิการเยื้อน พ.ศ.๒๔๒๘ ถึง พ.ศ.๒๔๔๒
        รูปที่ ๕ พระใบฎีกาแย้ม พ.ศ.๒๔๔๓ ถึง พ.ศ.๒๔๕๖
        รูปที่ ๖ พระอธิการเลี่ยม พ.ศ.๒๔๕๖ ถึง พ.ศ.๒๔๖๕
        รูปที่ ๗ เจ้าอธิการสัว พ.ศ.๒๔๖๖ ถึง พ.ศ.๒๔๗๖
        รูปที่ ๘ พระอธิการล้วน พ.ศ.๒๔๗๖ ถึง พ.ศ.๒๔๘๐
        รูปที่ ๙ พระอธิการหล่ำ เหมโก พ.ศ.๒๔๘๑ ถึง พ.ศ.๒๔๙๙
        รูปที่ ๑๐ พระราชสุทธิญาณมงคล พ.ศ.๒๕๐๐ ถึง พ.ศ. ปัจจุบัน

ประวัติ พระราชสุทธิญาณมงคล
( จรัญ ฐิตธมฺโม )

เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน
เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี

ชื่อเดิม จรัญ จรรยารักษ์
เกิด ปีมะโรง วันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ เวลา ๐๗.๑๐ น.
ณ บ้านตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
บิดาชื่อ แพ จรรยารักษ์
มารดาชื่อ เจิม สุขประเสริฐ
อุปสมบท ปีชวด วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๙๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.
ณ วัดพรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
พระครูพรหมจริยคุณ วัดแจ้งพรหมนคร เป็นพระอุปัชฌาย์
พระปลัดกิมเฮง วัดพุทธาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอธิการช่อ วัดพรหมบุรี เป็นอนุศาสนาจารย์
วิทยฐานะ
พ.ศ. ๒๔๘๗ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
โรงเรียนสุวิทดารามาศ จังหวัดสิงห์บุรี
พ.ศ. ๒๔๙๒ สอบไล่ได้นักธรรมโท
ณ สำนักเรียนวัดแจ้งพรหมนคร
อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี

ตำแหน่งและหน้าที่การปกครอง

พุทธศักราช ๒๕๐๐ รักษาการเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
พุทธศักราช ๒๕๐๑ ได้รับสมณศักดิ์เป็น ที่พระครูปลัดจรัญ ฐิตธมฺโม ในฐานานุกรมของท่านเจ้าคุณ สุนทรธรรมประพุทธ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑
พุทธศักราช ๒๕๑๑ ได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่พระครูภาวนาวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๑
พุทธศักราช ๒๕๑๖ เลื่อนเป็นพระครู เทียบผู้ช่วยพระอารามหลวงชั้นเอก
ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน
พุทธศักราช ๒๕๑๗ รักษาการตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี
พุทธศักราช ๒๕๑๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี
พุทธศักราช ๒๕๑๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
พุทธศักราช ๒๕๒๕ ได้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก
พุทธศักราช ๒๕๓๑ ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระภาวนาวิสุทธิคุณ เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑
พุทธศักราช ๒๕๓๕ ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระราชสุทธิญาณมงคล เมื่อวันพุธที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕
พุทธศักราช ๒๕๔๑ ได้รับแต่งตั้งเป็น รองเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี
เมื่อวันอังคารที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๑
พุทธศักราช ๒๕๔๒ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี
เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒

 

-------------------------------------------------
เรียบเรียง / จัดพิมพ์ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๑

 

ขอรับรองว่าถูกต้องตามนี้



---------------------------
(พระราชสุทธิญาณมงคล)
เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน
เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี
จังหวัดสิงห์บุรี